ประวัติและความเป็นมา
โรงเรียนบ้านนุเซะโปล้ เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนนักเรียน 411 คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีเขตบริการดังนี้ คือ บ้านนุเซะโปล้, บ้านนุกะโถวา, บ้านบ่อแร่, บ้านมะโอโค๊ะ, บ้านคอโซทะ, บ้านทิโพจิ, บ้านนุโพ, บ้านซอแหมะโกร, บ้านทีจอซี และมีเด็กจากฝั่งพม่า ในจำนวนเขตบริการที่กล่าวถึงล้วนแต่มีระยะทางที่ห่างไกลมากกว่า 3 กิโลเมตร จึงจำเป็นที่ทางโรงเรียนต้องจัดที่พักนอนสำหรับนักเรียนที่ห่างไกล เพื่อให้นักเรียนที่อยู่ห่างไกลได้มีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น
รายละเอียดการขอความอนุเคราะห์
โรงเรียนนุเซะโปล้ มีห้องเรียนทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่ 1.) นุโพ จำนวนนักเรียน 125 คน 2.) ซอเเหมะโกร จำนวนนักเรียน 26 คน และ 3.) ทิโพจิ จำนวนนักเรียน 60 คน โดยโรงเรียนนุเซะโปล้คือโรงเรียนแม่ของทั้ง 3 สาขา และมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 216 คน ซึ่งนักเรียนเป็นชาวไทยภูเขาทั้งหมด พูดภาษากระเหรี่ยง และมีฐานะทางบ้านอยู่ในระดับถือว่ายากจน เพราะมีรายได้น้อยมากเมื่อเทียบกับประชาชนในเขตพื้นราบ
1. โรงเรียนบ้านนุเซะโปล้
ต้องการความช่วยเหลือ ดังนี้
1. โครงการสร้างหลังคาโรงตากผ้าให้เด็กพักนอน
หลักการและเหตุผล
โรงเรียนบ้านนุเซะโปล้มีนักเรียนที่อยู่ห่างไกลพักนอนกับโรงเรียนในปีการศึกษา 2555 จำนวนทั้งสิ้น 47 คน นักเรียนพักนอนหญิงจำนวน 20 คน นักเรียนประจำพักนอนชาย 27 คน เนื่องจากนักเรียนไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ เพราะบ้านอยู่ห่างจากโรงเรียนมาก ประกอบผู้ปกครองนักเรียนมีฐานะยากจนจึงทำให้นักเรียนไม่มีเงินค่ารถสำหรับ กลับบ้าน นักเรียนจึงต้องอยู่กับโรงเรียนจนจบภาคเรียนในแต่ละภาคเรียนแต่ในภาคเรียนที่ 1 นั้นตรงกับเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนและหอพักไม่มีที่ตากผ้าจึงทำให้เด็กไม่มีที่ตากผ้าและทำให้เสื้อผ้าเด็กไม่แห้งแล้วต้องใส่เสื้อชื้น ๆ มาโรงเรียนจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่สบายบ่อยและเป็นโรคผิวหนังหรือผื่นคันต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนพักนอนมีที่ตากผ้า
2. เพื่อให้นักเรียนได้รับความสะดวก
3. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดี
เป้าหมาย
นักเรียนพักนอนโรงเรียนบ้านนุเซะโปล้จำนวน 48 คน มีที่ตากผ้าเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี
เพิ่มเติม
เครื่องกรองน้ำสำหรับให้เด็กดื่ม จำนวน 2 เครื่อง
เตียงนอนสำหรับเด็กหอพักนอน จำนวน 50 ที่
2. โรงเรียนบ้านนุเซะโปล้ (ห้องเรียนสาขาบ้านนุโพ)
ต้องการความช่วยเหลือ ดังนี้
1. อุปกรณ์ห้องครัวสำหรับทำอาหารให้แก่เด็กนักเรียน
2. ห้องสมุด
2.1 หนังสือสารคดีหรือนิตยสารต่างๆ เพื่อที่จะเก็บไว้ในห้องสมุด
2.2 ชั้นวางหนังสือ 3 ตัว
2.3 โต๊ะญี่ปุ่น 5 ตัว
2.4 ตู้เก็บเอกสาร 2 ตัว
2.5 ตู้เก็บยา 1 ตู้
3. อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับใช้ภายในโรงเรียน
3.1 แบบเตอร์รี่โซล่าเซล 4 ก้อน ก้อนละ 130 AMP
3.2 ปัตตาเลี่ยนตัดผมให้นักเรียนชาย 2 อัน
3.3 ระฆังเคาะเข้าแถว 1 อัน
3. โรงเรียนบ้านนุเซะโปล้ (ห้องเรียนสาขาบ้านทิโพจิ)
ต้องการความช่วยเหลือ ดังนี้
1. ปรับปรุงห้องครัวและต่อเติมบ้านพักครู
4. โรงเรียนบ้านนุเซะโปล้ (ห้องเรียนสาขาซอแหมะโกร)
ต้องการความช่วยเหลือ ดังนี้
1. อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับใช้ภายในโรงเรียน
1.1 เสื่อน้ำมัน ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 12 เมตร
1.2 ที่นอนอนุบาล 10 ชุด
1.3 ชั้นวางหนังสือ 2 ตัว
1.4 เสาธงชาติ 1 อัน
1.5 แบบเตอร์รี่โซล่าเซล 4 ก้อน ก้อนละ 130 AMP
1.6 ระฆังเคาะเข้าแถว 1 อัน
1.7 นาฬิกาแขวน 1 ตัว
โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
ประวัติและความเป็นมา
โรงเรียน อุ้มผางวิทยาคม ตั้งอยู่ที่ ก.ม.163 ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1090 (แม่สอด - อุ้มผาง) เลขที่ 4 หมู่ที่ 1 ต.อุ้มผาง อ.อุ้มผาง จ.ตาก 63170 ห่างจากตัวจังหวัดตาก 248 ก.ม. และห่างจากอำเภอแม่สอด 164 ก.ม. ตั้งอยู่บนเนินเขา บนเนื้อที่ 115 ไร่ ทิศเหนือติดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 347 ทิศใต้ติดทางเดินสาธารณะ ทิศตะวันออกติดป่าสงวนแห่งชาติ และทิศตะวันตกติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1090
โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2499 เดิมใช้ชื่อว่าโรงเรียนอุ้มผาง เนื้อที่ 15 ไร่ อยู่ในพื้นที่ลุ่ม ห่างจากที่ตั้งปัจจุบัน ประมาณ 1 กม. เมื่อเริ่มก่อตั้งเปิดสอนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.7) มีนักเรียนชาย 3 คน หญิง 10 คน นายภุชงค์ สุขุมวัฒนะ เป็นครูใหญ่คนแรก โดยในวันที่ 20 เมษายน 2519 กรมสามัญศึกษาประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาใช้ชื่อว่า "โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม" นายพิษณุ สราญรมย์ เป็นครูใหญ่คนแรก โดยโอนข้าราชการ ลูกจ้างและทรัพย์สินของโรงเรียนอุ้มผางมาไว้ในสังกัดใหม่ทั้งหมด ต่อมาใน พ.ศ. 2521 จึงย้ายสถานที่ตั้งจากที่เดิมตามมาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันขนาด 115 ไร่ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
ปัญหาและอุปสรรคที่โรงเรียนกำลังเผชิญอยู่
-
ขาดแคลนห้องเรียน เนื่องจากเดิมถูกกำหนดให้เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนไม่เกิน 500 คน ปัจจุบัน มีอาคารเรียนแบบ 108 เพียง 2 หลัง
-
นักเรียนที่มีภูมิลำเนาห่างไกลจนไม่สามารถเดินทางไปกลับทุกวันได้ จำเป็นต้องเข้าพักอาศัยในหอพักที่สร้างให้และบ้านพักที่โรงเรียนจัดสร้างให้ จำนวน 412 คน ล้วนมีฐานะยากจน รวมทั้งนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯซึ่งต้องให้การดูแล 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในยามเจ็บป่วย โดยโรงเรียนรับภาระในการจัดหาข้าวสาร อาหาร เครื่องนอน เครื่องนุ่มห่ม ฯลฯ ให้ซึ่งงบประมาณที่รัฐจัดให้ตามเกณฑ์ ยังไม่เพียงพอต่อการให้ความช่วยเหลือนักเรียนเหล่านี้แต่อย่างใด
-
เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเป็นจำนวนมาก และใช้การได้ไม่ทนนาน เนื่องจากปัญหากระแสไฟฟ้าที่ยังผลิตจากเครื่องยนต์ดีเซลมีกระแสไม่คงที่ และขัดข้องจนต้องหยุดจ่ายเป็นประจำทุกวัน
-
ขาดอัตรากำลังครูเป็นจำนวนมาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอนุมัติให้จ้างลูกจ้างชั่วคราวอยู่ 1 คน และบมจ. ธนาคารกรุงไทย จ้างให้ 5 คน
-
การจัดสรรงบประมาณค่าวัสดุฯ อุดหนุน และสาธารณูปโภค โดยใช้เกณฑ์ตามขนาดของโรงเรียนในขณะที่โรงเรียนตั้งอยู่ในที่ทุรกันดารห่าง ไกล สินค้าในท้องถิ่นมีราคาแพง และจำเป็นต้องรับภาระดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำนวนมากตลอดเวลา ทำให้โรงเรียนได้รับความเดือดร้อนจำเป็นต้องใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจำนวนมากแก้ปัญหาต่าง ๆ เฉพาะหน้า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรจึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทุกปี
-
บ้านพักครูมีสภาพเก่าชำรุดและไม่เพียงพอ