RECENT POST
HDP ROUND HALF HELMET- IR...
DATE 420.11.23
N-C-01<br>Expired::
N-C-02<br>Expired::
N-C-03<br>Expired::
Kraus Motor Co. “Achuma”
By HDP PR
DATE: 2012.01.16
VIEW: 2164
POST: 0
แบ่งปัน   Like 4

 


 

ชื่อที่ได้มาจากต้นแคคตัสของชาวอเมริกาใต้ ที่รู้จักกันดีถึงสรรพคุณในการออกฤทธิ์หลอนประสาทของมัน “Achuma” เป็นผลงานจากชิ้นส่วนของฮาร์เล่ย์ฯ คันเก่าเก็บ และรถโมโตครอส เครื่องยนต์แบบ Shovelhead Streetfighter ที่ทำให้มันดูมีสไตล์อย่างบอกไม่ถูก!!  นอกจากนี้ยังมี Skid plate กันเครื่องยนต์กระแทกเข้ากับขอบทางเดิน ตอนที่ต้องขี่ในเมืองที่การจราจรแออัด “ใช่แล้ว... ฉันไม่ได้ดูแข็งกระด้าง เหมือนที่พวกคุณคิดหรอกนะ” Satya Kraus ผู้สร้างเจ้ากระบองเพชรคันนี้ กล่าวถึงที่มาของสไตล์การตกแต่งของเขา

ชายวัย 35 ที่เกิดและอาศัยอยู่ในเขตป่าเรดวูดยักษ์ ทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย กับการเดินตามเส้นทางสายอาชีพในแบบของคนธรรมดา ๆ ทั่วไป เขาได้เข้ามาทำงานชั่วคราวในบริษัทคอมพิวเตอร์ แต่การทำงานด้วยสองมือของตัวเอง การสร้างสิ่งของต่าง ๆ กลับทำให้ความรู้สึกที่อยากจะหยิบจับและสัมผัสเริ่มร่ำร้องออกมา ต่อมาในปี 2004 เขาก็ตัดสินใจออกมาเพื่อสร้างชอปเปอร์ Satya โตมากับการขี่เดิร์ทไบค์ และได้รับการชื่นชมถึงการทำในส่วนของระบบกันสะเทือนหลังได้อย่างนุ่มนวล (แบบที่เรียกว่า เป็นมิตรกับกระดูกสันหลังนั่นเอง) “ผมอยากได้ชิ้นงานแบบที่ดูแล้วให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวว ใช้งานบนพื้นถนนได้จริง ๆ” เขากล่าว


 


 

คอลเลกชันหนังสือเก่า ๆ เกี่ยวกับวิชาช่าง ที่ถูกนำมาใช้สำหรับการเรียนรู้เพื่อซ้อมมือ การลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง บวกกับการเรียนรู้จากผู้ผ่านประสบการณ์มาแล้วและ คอมมอน เซ้นส์ ของตัวเอง “อย่างพวกการประดิษฐ์ชิ้นงาน การเชื่อมชิ้นโลหะ หรือว่างานแมชชีนนิ่ง แล้วก็งานอื่น ๆ เถือกนี้ นั่นหน่ะผมคิดเองทั้งหมด อีกอย่างผมไม่เคยไปโรงเรียนเพื่อเรียนอะไรพวกนี้หรอก” Satya กล่าว ‘ไลท์ เวท’ เป็นคำนิยามที่หัวหน้างานใน Kraus สร้างขึ้น “ผมคิดว่าในปัจจุบัน คนอย่างเรา ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะสร้างนั่นสร้างนี่เต็มไปหมด ซึ่งนั่นก็หมายความว่าจะต้องมีการใช้โลหะเป็นจำนวนมาก เพราะส่วนใหญ่ พวกเขาไม่รู้หรอกว่าจริง ๆ แล้วมันควรจะใช้มากน้อยแค่ไหน” ผู้คิดค้นคำนิยามเริ่มอธิบายอย่างเห็นภาพ “พวกเขากำลังเพิ่มน้ำหนักขึ้นโดยไม่จำเป็น ผลที่ตามมาจากนั้นคือ ระบบกันสะเทือน, ความเร็ว และความคล่องตัว จะลดคุณภาพลง”

สำหรับการเพ้นท์ก็......  แน่นอน ไม่มีลวดลายอะไรบนเจ้า Achuma นี้ให้เห็น เพราะมันเป็นมอเตอร์ไซค์แบบ full-metal นะสิ “ผมกับการเพ้นท์สีหน่ะ ไม่เข้ากันหรอก” Kraus บอก “ผมไม่เคยฝึกเกี่ยวกับการเพ้นท์เลย นอกจากนี้มันเป็นสิ่งแรกเลยที่จะไม่อยู่ในความคิด ลองโดนทุบสักครั้งหนึ่ง สีที่ฉาบอยู่ตรงนั้นก็ดูไม่ค่อยสวยแล้วละครับ ดังนั้นผมเลยพัฒนาชิ้นงานขึ้นมาโดยที่ไม่มีการเพ้นท์เลย”


 


 

แม้แต่เฟรมก็ไม่ผ่านการเพ้นท์เช่นเดียวกัน ในทางตรงกันข้ามได้มีการนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า Plasma-arc มาใช้พ่นเคลือบบาง ๆ ด้วยบรอนซ์ (bronze) แท้ เพื่อให้ตัวเฟรมเป็นมันเงายิ่งกว่า “เมื่อใดที่คุณได้มองเข้าไปใกล้ ๆ แล้วลองวางมือลงไปสัมผัส เมื่อนั้นคุณจะรู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างชิ้นงานที่เป็นแบบเพ้นท์และแบบ real-metal และมันจะจับใจมาก ถ้าคุณมองเห็นความสมบูรณ์แบบที่อยู่ในความไม่สมบูรณ์แบบนั้นของมัน”

ตะเกียบหน้าจาก Springer แบบเดิมของ Kraus ให้ความทันสมัยในดีไซน์สะอาดตา และ Racing Air Shock ของ Foes สำหรับส่วนหลัง ที่ถูกวางแผนเพื่อให้เป็นไปตามแบบของจักรยานดาวน์ฮิลล์ (downhill) ซึ่งสามารถดิ่งลงจากเส้นทางที่ความเร็วถึง 60 ไมล์ต่อชั่วโมง ระบบกันสะเทือนสวิงอาร์มโช๊คอัพคู่ ที่รองรับระยะยุบตัวถึง 5.8 นิ้ว


 


 

ส่วนเรื่องขุมพลังนั้น Satya ได้เลือกเอาเครื่องยนต์ S&S Shovelhead ขนาด 93 นิ้ว แรงอัดสูงและม้าที่มีเกือบ 90 ตัว ทำให้เขารู้สึกว่ามันให้กำลังที่เพียงพอกับน้ำหนักและให้ภาพลักษณ์ที่ดูดีแล้ว

เจ้าของรถ ชายวัย 30 กว่า ๆ สมาชิกของ England’s banking community ที่ขอไม่เปิดเผยนาม Kraus รายงานว่า เขาวางแพลนไว้ว่าจะพาเจ้า Achuma นี้ออกไปออกกำลังกายนอกรอบที่สนามอีกด้วย “เขากำลังใช้ ในแบบที่มันควรจะเป็น และสำหรับผมแล้ว... มันน่านับถือจริง ๆ ครับ


 


 

ที่มา: www.bikeexif.com

 

Comments