RECENT POST
HDP ROUND HALF HELMET- IR...
DATE 420.11.23
N-C-01<br>Expired::
N-C-02<br>Expired::
N-C-03<br>Expired::
Australian Toe Cutter
By HDP PR
DATE: 2011.09.30
VIEW: 2155
POST: 5
แบ่งปัน   Like 3

 

  

Shaun Ruddy เจ้าของค่ายมอเตอร์ไซค์แต่ง Phat Choppers โพสท์ท่าพร้อมสองล้อคู่ใจในช็อป Arlen Ness Motorcycles เมื่อวันอังคารที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา ก่อนเตรียมตัวเข้าประกวดมอเตอร์ไซค์คัสตอมชิงรางวัลชนะเลิศใน Artistry in Iron Competition ณ Las Vegas BikeFest ระหว่างวันที่ 29 กันยายนถึง 2 ตุลาคมนี้ 


 

  

ครั้งหนึ่ง รัดดี้เคยใส่เครื่องของสองล้อฮาร์เล่ย์ฯ ลงไปในรถกอล์ฟ และเขาก็ยังเคยตกแต่งรถสกู๊ตเตอร์ด้วยธีมของฟุตบอลด้วยลายเพ้นท์ของหญ้าเทียม เส้นสนามสีขาว แล้วก็เบาะนั่งทำจากหนังหมูเทียม

เปล่าเลย เราไม่ได้พูดถึง Xzibit ศิลปินแรปเปอร์ที่ผันตัวเองมาเป็นคนทำรายการทีวีแห่ง Pimp My Ride อันโด่งดังที่ดูแลโดยช่อง MTV หรือแม้กระทั่งรายการ American Chopper ของ Paul คนชื่อเหมือนสองคนพ่อลูกตระกูล Teutul แห่ง Discovery Channel เลยแม้แต่น้อย

แต่ตอนนี้เรากำลังพูดถึงธุรกิจสองล้อแต่งของ Shaun Ruddy ใน Las Vegas ชื่อว่า Phat Choppers ที่อยู่ไกลห่างออกไปจาก Arlen Ness Motorcycles แห่ง Boulder Highway ต่างหาก  

รัดดี้อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันในพื้นที่เท่าไรนัก แต่ทักษะการปรับแต่งสองล้อของเขากลับเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ รัดดี้ชนะการแข่งขันไบค์โชว์อยู่หลายครั้ง และบางครั้งยังได้รับเชิญให้เป็นกรรมการตัดสินคะแนนให้คนอื่นๆ สำหรับการแข่งขันต่างๆ ทั้งในออสเตรเลียประเทศบ้านเกิดและสหรัฐอเมริกาด้วย

โดยสัปดาห์การแข่งขันที่กำลังจัดขึ้นอยู่นี้ อาจทำให้รัดดี้มีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นอีก 10,000 เหรียญฯ ก็เป็นได้

รัดดี้เป็นหนึ่งใน 20 คนที่เข้าร่วม 8th Artistry in Iron Competition งานประกวดแข่งขันมอเตอร์ไซค์ศิลปะลับเฉพาะแขกผู้ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการ  ปี 8 ที่เดินเกมแฟร์ๆ ด้วยคอนเซปท์งานหรูๆ อย่าง “ดีไซน์ล้ำสมัย ทัศนวิสัยกว้างไกล และงานสร้างนวัตกรรม” ที่ต้อนรับ และงานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ 11th Las Vegas BikeFest จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 กันยาจนถึง 2 ตุลาศกนี้ที่ Cashman Center คาดไบค์เกอร์กว่า 30,000 ชีวิตตบเท้าเข้าร่วมงานด้วย

รัดดี้เข้ามาในงานพร้อมกับมอเตอร์ไซค์งามๆ สีโครเมียมที่ใช้เงินกว่า 20,000 เหรียญและเวลา 3 สัปดาห์ในการสร้าง ทุกสิ่งอย่างบนรถของเขาล้วนทำขึ้นเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นแฮนด์ เบาะนั่ง ฝาถังน้ำมัน และสตรัท รัดดี้ไม่มีแผนที่จะขายมันให้กับใครเพราะถือว่าค่าแรงในการทำรถคันนี้ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้ แต่ถึงกระนั้น เขาก็จะยินยอมขายมันถ้ามีคนขอซื้อในราคา 50,000 เหรียญฯ

“งานสร้างที่ผมทำสำเร็จไม่ใช่แค่มอเตอร์ไซค์ธรรมดาๆ” รัดดี้กล่าว “มันเป็นงานศิลปะ”

งานศิลปะของเขาดึงดูดลูกค้าผู้มีอันจะกินไม่น้อย นับตั้งแต่รัดดี้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านเกิดที่ Queensland ในออสเตรเลียไปที่ Boulder Highway ในอเมริกา เขามีงานสร้างจากรถมอเตอร์ไซค์มากมายนับไม่ถ้วนและบางครั้งเขาก็ทำงานร่วมกับบอสของเขาอย่างสองล้อ “คลาสสิก ฮอต ร็อด” ด้วย

หลายงานสร้างของรัดดี้มีราคาไม่แพงมากนักเมื่อเทียบกับเจ้าอื่นๆ ที่มีอยู่ประปราย หลายๆ งานทำให้ลูกค้าของเขาสบายทั้งกาย ใจ และกระเป๋าโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรถใหม่

 

 

 

  

“ผมสามารถทำให้มอเตอร์ไซค์คันหนึ่งกลายเป็นรถที่สามารถรองรับทั้งผู้ขับขี่ทั่วๆ ไปที่สูง 5 ฟุต 2 นิ้ว และสมาชิกผู้เล่นตำแหน่ง Linebacker ของทีมอเมริกันฟุตบอลที่สูง 6 ฟุต 2 นิ้วได้” รัดดี้กล่าว

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ ให้กับสองล้อ การสร้างงานแต่ละชิ้นจะไม่มีข้อจำกัดใดๆ ในการขั้นตอนการสร้างถ้าผู้จ้างวานให้ทำมีเงินมากพอ รัดดี้เล่าว่าเขาเคยใช้เวลากว่าหนึ่งพันชั่วโมงในการทำให้มอเตอร์ไซค์คันหนึ่งให้ฟื้นคืนชีพมาใช้เอธานอลและวิ่งปร๋อบนถนนได้

แล้วส่วนมากกลุ่มคนที่ซื้องานสร้างและจ้างวานเขาให้ทำล่ะเป็นใคร? รัดดี้บอกว่ากลุ่มลูกค้าของเขามีความแตกต่างกันไปในหลายๆ รูปแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่เขาสามารถจะพูดได้เต็มปากเต็มคำนั่นก็คือ ลูกค้าเพศชายวัยกลางคนที่มีอันจะกินนั่นละ

“หลายสิ่งอย่างที่เราทำกันอาจเป็นอะไรๆ ที่ไม่ค่อยจำเป็นเท่าไรนัก” รัดดี้สมทบ “สำหรับคนส่วนใหญ่ การมีรถยนต์ไว้ขับสักคันถือเป็นสิ่งจำเป็น แต่สำหรับเรา รถมอเตอร์ไซค์ถือเป็นงานอดิเรกยามว่างนะ”

ทุกวันนี้รัดดี้ก็ยังได้รับออเดอร์จากลูกค้ามากมายที่มีอยู่ทั่วโลก บางครั้งก็ยังได้รับการจ้างวานให้ช่วยทำสองล้อคัสตอมสำหรับประกวดด้วย และในบางประเทศอย่างจากออสเตรเลียที่ซึ่งห้ามไม่ให้การนำเข้ารถมอเตอร์ไซค์ใหม่ทั้งคันเข้าประเทศแต่ไม่รวมถึงชิ้นส่วนนั้น รัดดี้ที่ต้องจัดส่งของเข้าประเทศดังกล่าวแก้ปัญหานี้โดยการถอดแยกชิ้นส่วนต่างๆ ของสองล้อคัสตอมให้เสร็จแล้วจึงส่งมอบให้ลูกค้า และนั่นก็ทำให้เขาสามารถขายงานได้ทั่วโลกรวมทั้งหลายๆ ช็อปในอเมริกาก็นิยมใช้วิธีนี้ในการส่งมอบด้วยเช่นกัน

วิธีดังกล่าวอาจถูกมองว่าเป็นขั้นตอนที่สิ้นเปลืองแรงและเม็ดเงินโดยใช่เหตุในช่วงเศรษฐกิจขาลงครั้งใหญ่ทั่วโลกแบบนี้

รัดดี้กล่าวว่าธุรกิจคัสตอมสองล้อเพิ่งชะลอตัวลงมาเมื่อไม่นานนี้เอง แต่ถึงกระนั้น ธุรกิจนี้ก็ไม่ได้ล้มหายตายจากไปเลยซะทีเดียว เมื่อสองพ่อลูกชื่อเหมือนอย่าง Paul Teutul Sr. และ Paul Teutul Jr. เจ้าของค่ายสองล้อแต่ง Orange Country Choppers แห่ง New York ร่วมกันจัดรายการทีวี American Chopper ที่ช่อง Discovery Channels เพื่อกอบกู้สิ่งที่กำลังจะถูกลืมไปกับยุคสมัยให้กลับมาบูมอีกครั้ง ซึ่งภายหลังการโชว์รายการครั้งแรกในปี 2003 ทำให้กลุ่มคนเล่นรถมอเตอร์ไซค์คัสตอมผู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันธุรกิจสองล้อแต่งได้กลับมาสร้างกระแสได้สมใจ โดยรัดดี้และคนอื่นๆ ที่อยู่ในแวดวงนี้ก็พลอยได้รับอานิสงค์ไปแบบเต็มๆ อย่างไม่ต้องสงสัย แต่นั่นก็ทำให้อีกมุมมืดของธุรกิจนี้ถูกมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน

“หลังจากนั้น ผู้คนที่ถือแค๊ตตาล็อกชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์อยู่ในมือไม่น้อยต่างพากันคิดไปเองว่าพวกเขาเป็นผู้สร้างรถสองล้อคัสตอม” รัดดี้กล่าว “และนั่นก็นำไปสู่การค้นพบว่าธุรกิจของพวกเราเองกลายเป็นเรื่องของการแก้ต่างความผิดพลาดของผู้อื่นไปเสียนี่”


 

  

รัดดี้ได้รับประสบการณ์และความชำนาญในเรื่องของสองล้อแต่งมาจากการฝึกงานที่กินระยะเวลานานถึง 5 ปีในออสเตรเลีย ตอนนี้เขากลายเป็นทั้งวิศวกรผู้สร้างสองล้อคัสตอม ช่างทำสีสเปรย์ และช่างซ่อมตัวถังที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการแบบเต็มตัวแล้ว เขารู้วิธีที่จะนำประสบการณ์ของเขาไปใช้ในทางที่สมควร และในขณะเดียวกัน เขาก็เกลียดคนที่ชอบโอ้อวดหรือกล่าวอ้างว่าตัวเองสามารถทำงานสร้างสองล้อคัสตอมที่คุณภาพไม่ต่างกับเขาได้โดยไม่ต้องพึ่งประสบการณ์ด้วย

สิ่งที่รัดดี้เกลียดคือเวลาที่ผู้คนใช้ทางลัดที่ไม่ถูกต้องไปสู่ความสำเร็จแบบเฟคๆ ซึ่งเขาบอกว่าหนึ่งวิชามารเล็กๆ ที่อยู่เบื้องหลังของขั้นตอนการสร้างสองล้อคัสตอมสุดงามสักคันคือ มันเป็นได้แค่รถอัมพาตกินที่มีดีคือแค่เอาไว้โชว์เท่านั้น

“มันเป็นอะไรที่ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากเลยทีเดียวถ้าใครสักคนจะทำรถมอเตอร์ไซค์คัสตอมโดยที่ไม่ต้องไปแคร์เรื่องการซ่อนสายไฟต่างๆ ให้มิดชิดหรือแม้กระทั่งทำให้ทำให้มันวิ่งได้” เขาพูดต่อ “และถ้าไอ้ที่คุณสร้างน่ะมันวิ่งไม่ได้ แล้วแบบนี้มันจะยังเรียกว่า “รถ” อยู่ได้ยังไง จริงมั้ย”

แน่นอน รถที่คุณเห็นอยู่ในรูปก็คือสิ่งที่เขาเรียกมันได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า “มอเตอร์ไซค์” โดยเจ้าหนามของเขาสร้างจากเบาะนั่งทำจากเหล็กโรยด้วยหนามโลหะเต็มรถไปหมด และนั่นก็คือรถคัสตอมตัวจริงเสียงจริงที่วิ่งได้ตามทฤษฎีของเขาเป๊ะๆ

“รถคันนี้นั่งแล้วอาจไม่สบายก้นเท่าไร แต่มันก็พร้อมให้คุณขึ้นคร่อมแล้วก็ขี่ได้ทุกที่ทุกเวลานะ” รัดดี้จบคำพูด


 

  

Source: http://www.usnewslasvegas.com

 

Comments  
Posted by jobza
Date: 2011.10.01
Posted by jobza
Date: 2011.10.01
Posted by hiway
Date: 2011.09.30
Posted by Big Horn
Date: 2011.09.30
Posted by CHAMP_48
Date: 2011.09.30