HDP: ถ้าพูดถึงในเรื่องของการเดินทางละครับ อาแตงโมเคยประสบอุบัติเหตุบ้างมั้ยครับ ในการเดินทาง
อาแตงโม: เหมือนโม้นะครับ ความจริงไม่ได้โอ้อวด ไม่ได้คุยโว แล้วก็ภาวนาว่าอย่าเกิดขึ้น เคาะไม้เลย ไม่เคยเกิด ไม่รู้จะว่ายังไง ตอบว่าอย่างนี้ว่า หนึ่งตั้งแต่เริ่มหัดขับเนี่ย จะว่าเป็นเพราะความกลัวก็ ใช่ กลัวว่าจะเจ็บประการแรกคือความกลัวที่จะเจ็บ ประการที่สอง คือสติ กับสมาธิ พูดง่ายๆ คือไม่ประมาท ประการที่สาม ใครจะขับเร็วก็ช่าง จะขับไม่เร็วกับเขา อันนี้สำคัญนะ เพื่อนบางทีมากัน 10 คัน 20 คัน คันที่ 1 คันที่ 3 คันที่ 5 เนี่ยไปไวมาก แต่เราไปไม่ทัน ต้องบิดไล่เขาไปเนี่ย ยาว ถึงขั้นที่ ขั้นที่หมดเกจ์ หมดไมล์ ไม่จำเป็น เพราะอุบัติเหตุมันจะเกิดขึ้นในช่วงที่เราไม่มีสิทธิเบรกนั่นแหละ ไอ้ขับแซงหรือสวนนี่เราเห็นใช่มั้ยครับ ระยะไกล ไม่มีสิทธิที่จะมีอุบัติเหตุได้ ถ้าเราไม่เมา ถ้าเราไม่ง่วง ขับแซง ขับสวน นะครับ แต่ปัญหาที่เราเกิดอุบัติเหตุมี 2 อย่าง ที่เราเห็นกัน คือตกหลุม ตกหลุมแบบไม่น่าตก ถนนที่เขา ทางหลวงที่คอรัปชั่นกันเนี่ย แล้วมันมีหลุมนอกเวลา มันไม่น่าจะมีหลุมได้ มันตั้งหลักไม่ทัน ก็โอ้โห สงสารทั้งรถ สงสารทั้งพวกเรา อันนี้อันที่ 1 อันที่ 2 ก็ช่วงเข้าชุมชน เรารู้ดีว่ามีป้ายเข้าเขตหมู่บ้าน เรารู้ดีว่ามีไฟอยู่ข้างหน้าที่มันจะทำให้รู้ว่ามีซอยมีถนน ซ้ายขวา เพราะฉะนั้นเราต้องชะลอ เพราะส่วนใหญ่ที่เราเห็นกัน ไม่ว่าจะเป็นจุดที่เป็นซอยเป็นถนน ข้างซ้ายข้างขวาออกมานี่ ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถกระบะนะครับ รถยนต์ตัดหน้า อย่างนี้ แม้ แต่สุนัข หรือแมว หรือไก่ ส่วนใหญ่เนี่ยพลาดกันจริงๆ แม้แต่ U-turn เนี่ย ที่เห็นกันจะๆ เห็นกันยาวๆ เนี่ยก็ไม่ชะลอกัน บางทีอยู่กลางเกาะเนี่ย เห็นเขาทำท่าจะ U-turn มันก็ต้องชะลอนะ อย่าไปพลาด พลาดตั้งแต่โน่นแล้ว ปี 94 ที่เราไปกันเป็นขบวนเลย ไปภูเก็ต ไป ชนรถคอนเทนเนอร์กลางลำอย่างนี้ 1 ใน 10 ของขบวน 50-60 คัน ไม่เป็นไร แต่ไอ้ 4 คันที่ 1 ใน 30 ไม่เป็นไร แต่พอคันที่ 31 รถคอนเทนเนอร์ที่กำลังยูเทิร์นอยู่เขาก็คอยไม่ไหว เพราะเราไปทิ้งห่างเกิน เขาก็ตัดหน้า ตัดหน้าเราก็ต้องชะลอ อย่านึก
ว่าเราจะต้องตามให้ทันไง อย่างที่อาโมพูดเมื่อกี้แหละลูก แล้วก็ไอ้เร่งตามให้ทันจนได้จนกระทั่งเรามีอุบัติเหตุ เพราะฉะนั้นเราต้องชะลอ วิธีขับรถให้ปลอดภัยคือ หนึ่งจะต้องรักษาสุขภาพตัวเอง พูดง่ายๆ อย่าดื่มเหล้า แล้วเมา แล้วขับ เอางั้นดีกว่า สองนอนให้เพียงพอ ไม่งั้นง่วงแล้วไปขับมีสิทธิ หมายถึงหลับใน อันที่สามคืออย่าประมาท อย่าขับรถเร็ว แล้วอย่าไปตามใจเพื่อน อย่าไปรักเพื่อนในทางที่ผิด นั่นคือบทบัญญัติของการท่องเที่ยว ถ้าเกิดอะไรขึ้นมาหล่ะจบเกมเลย ต้องไปทำพิธีอะไรต่อมิอะไร ไปโรงพยาบาลโน่น เหนื่อยนะเวลาเกิดเหตุทุกครั้ง เราไม่อยากยกตัวอย่างเพราะว่าอาจจะทำให้เพื่อนน้อยใจ คนที่ล้มไปแล้ว คนที่เจ็บไปแล้ว ไปซ้ำเติมเขาไม่ได้ เพราะว่าเขาพลาดไปแล้ว แต่เราต้องการให้พวกเราขับกันอย่าง หนึ่งมีสติ คือพูดง่ายๆ อย่าเมา สองอย่าง่วง สามขับให้เป็นระเบียบ ขับเป็นทีมเวิร์ค ก็ยิ่งสนุกลูก 10 คัน 20 คันก็สนุก ขอให้มีผู้นำกับผู้ปิดท้ายดีๆ แล้วผู้นำนี่จะต้องส่องกระจกหลังบ่อยๆ ว่าคนข้างหลังเขาตามมามากแค่ไหน แล้วถ้าหากถนนซ้ายมือมันเลนดี แล้วมันไม่มีรถเยอะ เราก็วิ่งซ้ายก็ไม่เป็นไรทางไกล แต่ถ้าหากว่ากรณีจำเป็น รถซ้ายมือเยอะ หมายถึงรถยนต์ทั่วไป เราจำเป็นต้องใช้ความเร็วสม่ำเสมอ เราก็ต้องชิดขวาไป หรือแม้แต่รถที่มันเป็นลูกระนาดในช่วงถนนเลนซ้าย เราก็ต้องไปวิ่งถนนเลนดี อยู่ข้างขวา ก็ขอเขาหน่อย ขอเป็นมารยาท เวลาขอแซงเขา รถยนต์ทั้งหลาย คนที่นำขบวนก็ต้องให้เกียรติรถยนต์คันที่เราแซงไป ที่อยู่ฝั่งซ้าย ขอเขาโบกมือลง แล้วก็คำนับเขา เราคำนับไม่ได้เราก็ตะเบ๊ะ เอามือซ้ายตะเบ๊ะไป เหมือนกับแสดงความขอบคุณ ในขณะเดียวกัน รถคันหลังก็เหมือนกัน เพื่อนแซงหมดไปแล้วในช่วง 10 คัน หรือ 100 คันก็ตามที คันหลังก็ต้องถือมารยาทที่ดี ต้องปิดท้ายด้วยการขอบคุณรถที่เราแซงเขาไป แล้วเขาจะรักเรามากคนที่ใช้ท้องถนน 4 ล้อเนี่ย ประการแรก ประการที่ 2 ต้องดูคนข้างหลังที่เขาแซงเราด้วย เราอย่าทำเหมือนรถสิบล้อสิบคัน แล้วตามกันจนไม่มีสิทธิแซงเลย ก็ต้องแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่ม 20-20 ประมาณ พอให้คนอื่นที่เขาใช้ถนนในภาษีเดียวกันกับเรา ได้มีสิทธิแซงด้วย เมื่อเขาแซงแล้วเนี่ย เราก็ต้องลดความเร็วให้เขา หรือว่าจะชิดขวาก็ต้องชิดขวาไปตลอด แล้วก็ใช้ความเร็วต่ำลง แล้วก็ให้ข้างหน้านำ แล้วก็ชิดขวาให้มากหน่อย เขาก็จะแซงของเขาไป แล้วเขาจะขอบคุณเราเลยนะ เขาจะบีบแตรขอบคุณ เขาจะยกมือสวัสดีเราด้วย นั่นคือการใช้มารยาทในการขับรถ ถามว่าพูดทำไม พูดให้เกิดความปลอดภัยจากคำถามที่ถามว่าอาโมขับรถยังไง
อาแตงโมได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาของชมรมสมุยไรเดอร์ โดยอาแมว พงษ์ศักดิ์ เรืองทอง
ประธานชมรม อาพงษ์ ด.ต.พงษ์ศักดิ์ ประธานจัดงาน Samui Bikeweek และบิ๊กโส อดีตแบล็คแองเจล
เป็นผู้ประสานงาน
อาแตงโมที่นครวัด เมืองเสียมราช กัมพูชา
HDP: อยากให้อาโม ฝากข้อคิดในการรวมกลุ่ม ขับขี่เดินทางลักษณะยังไงให้เขาชื่นชมเรา ไม่ด่าตามหลังกลับมา
อาแตงโม: คำถามที่ถามก่อนหน้านี้ เป็นคำถามที่ดี ถึงแม้ฟังดูเหลือเชื่อในกรณีคำตอบที่อาโมตอบให้ ว่าทำยังไงขับมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จนถึงทุกวันนี้อายุ 55 สี่สิบห้าปีที่ผ่านมาไม่มีบาดแผลเลย รถไม่เคยล้ม ขนาดตั้งขาตั้งล้ม ก็ยังไม่เคย ก็อย่างที่เล่าให้ฟังว่า หนึ่งต้องมีสติ สองต้องขับมีระเบียบวินัยส่วนตัว สามเมื่อขับกับทีมเวิร์คต้องมีระเบียบวินัยของทีมอย่างที่เล่าในรายละเอียด ทีนี้อยากจะฝากไปถึงพี่น้อง ลูกหลานทั้งหลายที่กำลังขับกันอยู่ มี 2 อย่างที่พวกเราขับแล้วเกิดความรู้สึก พอโตขึ้นแล้วจะสำนึกผิด ก็คือหนึ่ง ขับแบบ คึกคะนอง ขับแบบคึกคะนอง โดยอาศัยว่าตัวเองเป็นนักขับ ตัวเองเป็นเจ้าถนน ตัวเองเป็นจุดด้อยที่จะสร้างจุดเด่นบนท้องถนน ซึ่งสิ่งเหล่านั้น มันเป็นช่วงของวัยรุ่นที่เขาจะต้องทำ ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งห้าม ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ต่อให้เจ็บครั้งที่ 1 เจ็บครั้งที่ 2 เจ็บครั้งที่ 3 มันก็ยังเจ็บอยู่ แต่ถามว่ามันกี่เปอร์เซ็นต์ที่มันเป็นอย่างนั้น ไม่กี่เปอร์เซ็นต์หรอก อย่าไปกล่าวหาใส่ร้ายว่าพวกเราชาวไบค์เกอร์ทั้งหมดในประเทศไทยที่เป็นเยาวชน ที่เป็นวัยรุ่นเป็นอย่างงั้นทั้งหมมด อันนี้ไม่ให้ความเป็นธรรมกับพวกเรา มีน้อยนิดเท่านั้นเองนะครับ ที่มีสังคมที่ แบบเป็นกาฝาก เพราะฉะนั้นก็เอาน้ำดี เข้าไปไล่น้ำเสีย คนในสังคมเดียวกัน ในชุมชนเดียวกันหมู่บ้านเดียวกันนั้นนะครับ จะต้องช่วยเตือนเขา บอกเขา ถามว่าพ่อแม่ผู้ใหญ่สำคัญมั้ย สำคัญมาก แต่ คนที่สำคัญมากกว่านั้น ที่ใกล้ชิด ตอนที่พ่อแม่สายตาห่าง ก็คือเพื่อนด้วยกัน เพื่อนรักกันอย่าเอาความเด่นในด้านที่ทำลายสังคมหรือทำลายตัวเอง มาเป็นเครื่องวัด คิดมากนะครับ ขอฝากไปยังน้องนุ่งพวกเราว่า 1. อย่าคึกคะนอง 2. เมื่อท่านไม่คึกคะนองแล้วนะครับ ต่อมาท่านอย่าทำผิดกฎจราจร หมวกกันน็อคนี่
ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรง มันก็ต้องสวมนะ ไม่จำเป็นต้องมีตั้งด่านถึงจะสวม ใส่เพื่อตัวท่านเอง ใส่เพื่อรู้สึกว่าเวลาเราไปรณรงค์กับพี่ๆ เขา เพื่อเปิดไฟสวมหมวกกันน็อค แล้วเราไปดูในทีวีเนี่ย ทำไมเราไม่ออกทีวีสักที อีตอนที่เราไปขับรณรงค์เปิดไฟ สวมหมวกกันน็อค ก็เธอไม่ใส่หมวกกันน็อค ก็ไม่ได้ออกซิ ทุกครั้งที่สื่อมวลชนเขาไปถ่ายทำพวกเรา ตอนเวลาเราไปรณรงค์เปิดไฟสวมหมวกกันน็อค ในกิจกรรมต่างๆ มีอยู่ 100 คัน ถ้าเกิดมีอยู่ 2 คันที่ไม่ใส่หมวกกันน็อค เขาก็ไม่ให้ออกทีวี เนี่ยเพราะมันไม่ใช่รณรงค์แล้ว เพราะฉะนั้นทุกคนเวลาไปร่วมงานส่วนรวม เราต้องรักษาระเบียบ กฎจราจร เนี่ย อันนี้ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ นะ ขับคนเดียวก็ต้องใส่ ขับรวมกับเพื่อนก็ต้องใส่ ผลเสียหายของการไม่ใส่ คือเพื่อนรถชน เห็นมั้ย ไม่ได้เห็นบนจอทีวี ประชาชนก็ไม่รู้ว่าเรารณรงค์อะไร ทั้งๆ ที่เขามาถ่ายทุกครั้งไปนะครับ สื่อมวลชนส่วนตัวแล้วเขาใจดี แต่เขาลงให้เราไม่ได้เพราะว่าใส่ครึ่งหนึ่ง ไม่ใส่ครึ่งหนึ่ง นี่คือยกตัวอย่างให้เห็นว่าข้อที่สองคือ ไม่เคารพกฎหมายนะครับ ข้อที่สามก็คือเรื่องสุนทรียภาพ ความงามในการขับขี่ เราต้องยอมรับความจริง ที่ใจเราตรงกัน แล้วเราไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ ขับรถไม่แบ่งยี่ห้อ ไม่แบ่งรุ่น ไม่แบ่งซีซีนี่เพราะอะไร เพราะเรารสนิยมเดียวกัน คือขับสองล้อบนท้องถนนหลวง ถนนทุกถนนของใคร คือถนนพ่อหลวง รถของใคร รถของเรา เราเสียภาษีซื้อรถมา เราขับบนท้องถนนหลวงเราก็อยากจะขับแบบสวยงาม แบบที่อาโมว่า สุนทรียภาพ เพราะฉะนั้นเมื่อสวยงามแล้ว เวลาเราขับนี่ ถึงแม้ว่าเราจะขับในเมือง ไปซื้อกับข้าว ไปส่งลูกไปโรงเรียนด้วยรถคันใหญ่ของเรา หมายถึงรถบิ๊กไบค์เนี่ยนะ หรือแม้แต่รถซี รถคลาสสิค เราก็มีความสุข
อาแตงโม ป๋าภิรมย์ชุมพร อาเจี๊ยบ พิสุทธิ์ และเพื่อนๆ ที่เวียดนาม ลาว ปี พ.ศ.2551
HDP: ถ้าเกี่ยวกับกิจกรรมการท่องเที่ยวของชาวมอเตอร์ไซค์ ที่กำลังเป็นที่นิยมหล่ะครับ
อาแตงโม: บุคลิคของรถใหญ่ หรือรถซีที่ปัจจุบันที่นิยม คือ ออกเดินทางข้ามจังหวัด พูดง่ายๆ ไปออกทางไกล ท่องเที่ยวทั่วไทย นี่คือความสุนทรียภาพของพวกเรา เราคือศิลปินนะ นักบิดสองล้อนี่เราคือศิลปินที่รักความสวยงาม เราคือศิลปินที่รักการสร้างสรรค์สังคมให้ดีงาม ช่วยเหลือชาวบ้าน เราคือศิลปินที่รักเพื่อนของเราไม่เคยทิ้งเพื่อนเวลารถเสีย เนี่ยสามอย่างที่มันผนวกเข้าหากัน คือ หนึ่งท่องเที่ยวทั่วไทยด้วยรถจักรยานยนต์ 2 ล้อ สองไปเป็นหมู่คณะแบบรักเพื่อนรักพ้องรักทีม แล้วก็ สามรักสังคม ช่วยเหลือชาวบ้าน นี่คือชีวิตประจำวันที่เวลาเราออกไป event งานมหกรรม ประเพณี สัปดาห์การท่องเที่ยวเรื่องรถจักรยานยนต์ ทุกชมรมที่เขาจัดทั่วประเทศไทยที่มีอยู่ 300 กว่าชมรม เขาจัดกันแทบทุกอาทิตย์ ถ้าใครอยู่ใกล้แถวภาคตะวันตก จะได้ข่าวว่ากาญจนบุรีจัดแล้วนะ กาญจนบุรีก็จะเชิญคนใกล้เคียงไป เขาก็ไปกัน หนึ่งในนั้นก็จะมี หนึ่งในสามร้อยกว่า เจ็ดสิบชมรมที่ไปกันใช่มั้ย เขาก็กระจายกันไป
อาแตงโม ชมรมช๊อปเปอร์อุบล ชุมพร 7 WARRIORS ที่มาเลเซีย ปี พ.ศ.2551
ชมรมช๊อปเปอร์อุบล รถโบราณ และหน้ายาว ปี พ.ศ.2540
ที่หน้า P.V.TOWER โรงแรมอาแตงโมที่ จ.อุบลราชธาน
HDP: อยากให้อาแตงโมพูดถึง สมาคมรถจักรยานยนต์สยาม ตัวแทนของชาวมอเตอร์ไซค์หน่อยครับ
อาแตงโม: ได้ครับ วันนี้อยากจะขอพูดเสริมในเรื่องของข่าวดีนิดนึงก่อน ข่าวดีในเรื่องของมหภาค ว่าจาก สามร้อยกว่าเจ็ดสิบชมรมที่เรารวมรายชื่อกันมาได้เกือบสองหมื่นคนทั่วประเทศไทย ที่มีใจตรงกันคือรักรถสองล้อ และมีใจตรงกันที่อยากจะฟังข่าว สังคมของเรากำลังจะเข้มแข็ง ชุมชนเล็กๆ ของเราจะได้รับการยอมรับในสังคมลูก เพราะอะไร อามีกุศลบุญที่เราเคยทำเพื่อพ่อหลวงของเรา สมัยเมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่มีรถจักรยานยนต์มาเป็นหมื่นๆ แต่เข้าไปแปรอักษรในสนามกีฬากลางกลีบบัว จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2550 ด้วยรถมอเตอร์ไซค์ 2,550 คัน ปีเดียวกับที่พระองค์ท่านครบรอบ 80 พรรษา ที่จังหวัดกาญจนบุรี 2,550 คัน ที่แปรในวันนั้น แปรอักษรในวันนั้น ทีมงานมอเตอร์ไซค์ใหญ่ 9 ทัพชมรมที่เป็นหลักในการเป็นเจ้าภาพร่วมกับไบค์เกอร์สยาม 76 จังหวัด สมัยที่พวกเราได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเราทำได้ลูก เราทำได้ในกรณีที่แค่สายตรงหากัน ไม่มีโปสเตอร์ไม่มี cut out เลยนะครับ แต่เราก็ทำได้ เมื่อเราทำได้ก็ต้องภาคภูมิใจว่า นั่นคือผลงานที่แม้แต่ชาวฝรั่ง ยุโรปที่เขาแปรอักษร เขายังไม่มีระเบียบวินัยเหมือนอย่างพวกเรา จำได้มั้ยครับที่เยอรมัน เมื่อปี ค.ศ. 2000 ปีสหัสวรรษ 2000 ทางยุโรป ทางสหภาพยุโรป แปรอักษรเอามอเตอร์ไซค์ 2,000 คัน แล้วถึงเวลาก็มาอยู่กลางลานสนามหญ้า แต่พอถึงเวลาที่เฮลิคอปเตอร์ควรจะมา เพื่อมาบันทึกภาพถ่ายทางอากาศ ก็มาช้านิดหน่อย แต่ 2,000 คน ที่เอามอเตอร์ไซค์ไปจอด 2,000 คัน ตัวเลข 2000 เนี่ย
รถเซฟโรเลท ปี ค.ศ.1954 รถประจำตำแหน่งอาแตงโมที่อุบล
ไม่มีระเบียบวินัยเหมือนคนไทย ไม่มีความสามัคคีเหมือนไบค์เกอร์คนไทย ภาพที่ทางเฮลิคอปเตอร์มาถ่าย ก็ได้แค่เลข 2 เลข 0 สองตัว แล้วก็ 0 อีกครึ่งตัวหายละ เพราะอีกครึ่งตัวมันไปก่อนแล้ว นึกออกมั้ยครับ นั่นคืออะไร มีนะ ของคนไทยนี่ 2550 นี่อยู่ตลอด นะครับ นี่คือความแตกต่าง เอาละ นี่อาโมกำลังจะบอกว่าความเป็นมาที่เกิดแรงบันดาลใจให้พี่น้องเรารวมกันได้ จากวันนั้นที่หมื่นกว่าคน มารวมกันที่เมืองกาญจน์ เพื่อพ่อหลวง แล้วผลบุญที่เราทำเพื่อพ่อหลวง ผลบุญที่เราเอาเงิน 515,00 บาท ที่เราได้รับการบริจาคเนี่ย จากพี่น้องเรา และผู้สนับสนุน บริจาคให้กับโรงพยาบาลของสมเด็จพระสังฆราชในพระบรมราชูปถัมภ์ของท่านที่ ท่าม่วง ครึ่งล้านนะที่เราให้ เกิดผลบุญทำให้ 3 ปีต่อมา ปีที่แล้ว 52 วันที่ 14 กรกฎาคม ปี 2552 ได้เกิดองค์กรอิสระภาคประชาชนในนามของสมาคมถจักรยานยนต์สยามรวมกันได้อย่างเป็นทางการ มีกฎหมายรองรับโดยกระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย โดยการจัดตั้งของสายเลือดไบค์เกอร์เนี่ยแหละ ถึงจะเป็นตุ๊กตาในขั้นเบื้องต้น ถึงเป็นคณะกรรมการนำร่องในเบื้องต้น แต่ไม่เป็นไร คณะกรรมการนำร่อง กับคณะกรรมการตุ๊กตาดังกล่าวเนี่ย ที่ไปยื่นเรื่องจดทะเบียนได้ใบอนุญาตมาได้นั้น พร้อมเสมอที่จะมอบสมาคม มอบการบริหาร ให้กับคณะกรรมการรุ่นใหม่ต่อไป เพื่อให้เกิดเป็นประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกัน ในการมาใช้บริการของผู้ที่เข้ามา วันนี้ ตั้งแต่ 14 กรกฎา จนถึงวันนี้ สมาชิกของสมาคม คณะกรรมการของสมาคม ก็เพิ่งตั้งไข่มาได้แค่ 6 เดือน จนถึงเดือนมีนาคม
อาแตงโม ถ่ายภาพต้อนรับ ชมรมไม่เป็นไร จากสวีเดน นอร์เวย์ ปี 2546 ถ่ายหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี
ก่อนถูกผู้ก่อการร้ายเผาปี 2553
HDP: อย่างนี้ก็คงเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหากับทางภาครัฐ
อาแตงโม: กำลังจะแจ้งข่าวดีต่อไปว่า หลังจากเราได้ใบอนุญาตอย่างเป็นทางการแล้ว เรามีคณะกรรมการนำร่องทำงานเพื่อสังคมไบค์เกอร์ สิ่งที่จะเกิดขึ้น เป็นรูปธรรมในเชิงนิตินัยที่เราไปประสานงานกับทางสำนักนายกรัฐมนตรี ในปัญหาที่เราเกิดขึ้น วิกฤติที่เราเคยโดนนโยบายไล่จับปรับต่างๆ เนี่ย ของตำรวจ ของสรรพสามิต ที่ผ่านมา เป็นข่าวหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ เราได้ประสานงานกับทางสำนักนายกรัฐมนตรี เราได้ประสานงานกับทางกรมสรรพสามิตอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 14 กันยายนที่เราเดินทางเข้าไปพบกับทางสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นหนังสือให้กับท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อปฏิวัติ ในกรณีร้องเรียน ร้องทุกข์ เพื่อให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้เป็นธรรมกับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ในระยะทั้งสั้นและยาว เรากำลังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง อันดับแรก เราก็ได้ขอยืดเวลา
ภาพประวัติศาสตร์ ปี 2537 ที่เชียงใหม่ บันได้ขึ้นดอยสุเทพ งานเชียงใหม่ไบค์วีค ปีที่ 1 ลุงแอ็ดคาราบาวแถว 3 สวมหมวก ซี้ซ้ายมือ อาแตงโม อาแหม่มภรรยา และลูกสาวแคนตาลู๊ป แถว 2 ขวามือ สฤษดิ์ โก้ (นฤเบศ) แถวหน้าสวมหมวก หันข้าง
จากที่เขาจะมีวันกำหนด ที่จะเก็บภาษีเราอย่างเด็ดขาด ไม่มีการอนุโลมตั้งแต่ปลายเดือนกันยาเป็นต้นมา ขยายมาจนกระทั่งถึงวันที่ 31 ธันวาคม สิ้นปีที่ผ่านมา ขยายมาจนกระทั่งปลายเดือนนี้ มีนาคม ถามว่าได้มาเพราะโชคช่วยเหรอ ไม่ใช่นะ ได้มาเพราะเราไปขอความอนุเคราะห์ ขอความเห็นใจ เอาละ เราได้มาละ ในด้านพฤตินัย แต่ในด้านนิตินัยที่กำลังจะมีกฎหมายมาบัญญัติทำอย่างไรให้เราได้เสียภาษีอย่างเป็นธรรม ทั้งอดีตในกรณีย้อนหลังรถที่ยังไม่มีคู่มือรถ รถยังไม่มีป้ายทะเบียนรถ ทางสำนักนายกรัฐมนตรีกำลังจะจัดตั้งคณะทำงานบูรณาการองค์กรของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ดูแลเกี่ยวกับ สมอ.เกี่ยวกับมาตรฐานอุตสาหกรรม ดูแลเกี่ยวกับเรื่องของกระทรวงการคลังที่ดูแลเรื่องสรรพสามิต ศุลกากร ดูแลเรื่องกระทรวงคมนาคมที่แยกกออกมาดูแลเรื่องขนส่งทางบก ดูแลเรื่องสถาบันตำรวจแห่งชาติ 4 เหล่าของภาคองค์กรรัฐบาลและราชการ ขณะเดียวกันภาครัฐบาลราชการ ก็จะเชิญภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสมาคมเชียงกง สมาคมผู้ประกอบรถขายรถค้ารถ ตลอดจนพวกเราที่เป็นภาคประชาชน 3 องค์กร ของเราอยู่ในนามภาคประชาชน เราไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ เราไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการเมือง เรายืนอยู่บนพื้นฐานของผู้รักขับขี่รถท่องเที่ยวทั่วไทย และทำการสาธารณประโยชน์ ตรงนี้คือจุดแข็งมาก เพราะฉะนั้นบอกข่าวดีไว้เลยว่าใจเย็นอีกนิดนึง ให้คณะกรรมการ โดยการนำของบังมิน นายกสมาคมรถจักรยานยนต์สยาม จะเข้าไปประชุมที่ทำเนียบรัฐบาลไวๆ นี้ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาระยะยาวละตอนนี้ เมื่อกี้เราพูดถึงแก้ปัญหาในระยะสั้นได้ในระดับหนึ่ง วันนี้เราจะแก้ระยะยาว ไม่กี่อาทิตย์ ในช่วงงานภูเก็ตไบค์วีคนี่แหละ
อาแตงโม ขับ ULTRA CLASSIC ปี 2003 ที่หน้าสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำกรุงปารีส ถนนซ้องเซลิเซ่ ปารีส ฝรั่งเศส ในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วงเดือนกันยายน ปี 2005 หลังจากเรียนจบจากปารีสได้ 20 ปี
นั่งพูดคุยกันตั้งแต่บ่ายต้นๆ จนมาถึงบ่ายแก่ๆ ก็สมควรแก่เวลา เพราะอาแตงโมยังมีภารกิจที่จะต้องดูแลในงานประจำปีของสมาคมศิษย์เก่าฝรั่งเศสที่ได้จัดขึ้นในเย็นวันนั้น ในระหว่างสัมภาษณ์ก็จะมีรุ่นพี่รุ่นน้องศิษย์เก่าฝรั่งเศสของอาแตงโม แวะเวียนเข้ามาทักทายอยู่อย่างต่อเนื่อง จากบุคลิกอันโอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือผู้อื่นของ อาแตงโม ทำให้ทุกแวดวงสังคมรักใครนับถือบุรุษท่านนี้ทั้งสิ้น แม้ HDP จะได้มีโอกาสพบปะพูดคุย และได้รับคำแนะนำ เเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็ยังรู้สึกได้ถึงจิตใจอันปรารถนาดีของ อาแตงโม ที่ต้องการจะพัฒนาแวดวงของชาวมอเตอร์ไซค์ให้ได้รับการยอมรับจากสังคมเพิ่มขึ้น สิ่งหนึ่งที่ผมยังคงจดจำได้เป็นอย่างดี แม้ว่าเวลาจะผ่านมาหลายเดือนแล้วจากการสัมภาษณ์ในวันนั้นก็คือ อาแตงโม ไม่เคยขี่รถล้ม ท่านบอกว่า เดชะบุญที่ไม่เคยรถล้ม ถ้าล้มแล้วมันเจ็บ เพราะฉะนั้นอย่าล้มเป็นดี คราวนี้จะทำยังไงไม่ให้ล้ม ก็ต้องขี่อย่างมีสติ ไม่ประมาท อย่าคึกคนอง และที่สำคัญต้องไม่เมา นับเป็นข้อคิดที่น่าสนใจ และควรนำไปใช้ครับ
|