HDP ขอขอบคุณ คุณ Vrod raider ที่ได้อนุญาตให้นำบทความอันเป็นประโยชน์มาเก็บไว้ใน Article แห่งนี้
สวัสดีครับ ช่วงนี้หาโอกาสลงบทความ วันนี้พอดีหายไม่สบายขึ้นมาหน่อยเลยอยากขอเสนอเรื่อง โช๊คอัพ + สปริง มันแยกคนละเรื่องแต่ผม จะพยายามรวมให้มันเหลือเป็นเรื่องเดียวกัน เริ่ม จาก สปริงก่อนนะครับโดยสมัยก่อน รถมอเตอร์ไซค์เรายังไม่มีสปริงใช้ก็เจ้าแหนบแบบรถยนตร์นะครับ แบบตามในรูปนะครับ สังเกตุได้ที่ใต้แฮนด์นะครับ โลหะแผ่นซ้อนๆ กัน
แหล่งที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=jetsada&month=09-2007&date=16&group=4&gblog=1 (มีรูปรถมอเตอร์ไซค์โบราณที่หาดูได้ยากอีกเยอะครับ)
ทีนี้ก็มีการพัฒนาให้ใช้สปริงเข้ามา ทำไมเราถึงต้องมีเจ้า แผ่นแหนบ รึว่าเจ้า สปริง เพราะว่า รถที่ไม่มีอะไรเลย มันจะกระด้างจนไม่สามารถควบคุมการขับขี่ได้ ความสั่นสะเทือนจะส่งแรงไปตามร่างกายทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เวลานานๆ สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
ทีนี้เจ้าแหนบมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าสปริง( นิ่มนวลน้อยกว่า) สปริงเลยกลายเป็นพระเอก ทีนี้เรามาดูว่า เค้าหาสปริงที่เหมาะสมกันได้ยังไง
สามารถคำนวนได้จาก http://www.efunda.com/DesignStandards/springs/calc_comp_designer.cfm#calc
ทีนี้ การเลือกสปริงที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวรถ + น้ำหนักผู้ขับขี่ แต่มันยังมีปัญหาครับ เรื่องของการเด้งดึ๋งๆ ฉะนั้น มีคนหัวใสผลิต Shock Absorber ออกมา เพื่อซับแรงกระเด้ง
โช้คอัพ มาจากคำว่า Shock Absorber (ช็อค-อัพซอร์เบอร์)
เป็นตัวช่วยหน่วงเวลาไม่ให้สปริงมีการเคลื่อนตัวเร็วเกินไป แต่อย่าเข้าใจผิดว่าใช้โช้คอัพรองรับน้ำหนักนะครับ ผู้ขับขี่รถบางคนอาจจะเข้าใจกันว่าโช้คมีไว้รองรับน้ำหนักรถ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์เลยครับ จริงๆแล้ว ตัวรับน้ำหนักและแรงกระเทกทั้งปวงคือสปริง แต่ในทางกลับกันถ้ารถคุณมีแต่สปริง พอเจอถนนขรุขระและหลุมบ่อ รถคุณก็จะเด้งขึ้นเด้งลงตามค่า K ของสปริงกันจนมึนไปเลย
Shock Absorber จึงถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อหน่วงไม่ใช้สปริงมีการเคลื่อนตัวได้เร็วนัก ในกรณีเวลาที่คุณต้องการเลือกโช้คอัพมาใส่รถต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า คุณต้องได้อย่างเสียอย่างเสมอ ถ้ารถคุณอยากได้โช้คนิ่ม มันจะหน่วงสปริงได้น้อย นั่งแล้วนิ่มตูดขึ้น แต่เวลาเข้าโค้งที่มีความเร็ว
ถึงในระดับหนึ่งรถก็จะออกอาการ “ย้วย” ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของโช้คแบบผิดที่ผิดเวลานั่นเอง ซึ่งนั่นเกิดจากแรงเหวี่ยง จากศูนย์กลางมันมากดโช้ค
แต่ถ้าในกรณีที่คุณเลือกโช้คหนึบในโค้งความนิ่มก็จะหายไปรวมทั้งบนทางตรง เนื่องจากสปริงจะเคลื่อนที่ได้น้อยมาก แต่เวลาเข้าโค้ง หรือขับซิกแซก รุถคุณนิ่งอย่างแรงครับเพราะน้ำหนักกดลงไปถึงพื้นมีความสม่ำเสมอ โช้คอัพ เดิมทีคือการใช้น้ำมันในการหน่วงการทำงานของกลไก โดยน้ำมันนี้ จะบรรจุอยู่ในกระบอกโช้คเต็มกระบอก แท่งแกนโช้ค ( Piston rod ) ถูกสอดลงไปในกระบอก มีก้อนวาล์ว (Piston valve) อยู่ตรงปลาย
หลักการของมันคือ รูวาวล์จะต้านแรงดันน้ำมันในเวลารับแรงกดและแรงยืดกลับ เวลาจังหวะโช้คยืดตัวขึ้น น้ำมันจากห้องบนจะต้องถูกดันให้หนีลงมาห้องล่าง แต่วาล์วที่กั้นห้องนั้น มีรูและซอกเล็กมากให้น้ำมันผ่านได้จำกัดมาก ทำให้น้ำมันผ่านได้ช้าลง ผลก็คือเกิดการหน่วงไม่ให้ก้านสูบเลื่อนขึ้นเร็วเกินไป ในจังหวะโช้คกดตัวลงก็เช่นกันครับ น้ำมันจากห้องล่างจะพยายามหนีขึ้นห้องบนเพราะโดนดัน วาล์วก็เป็นตัวหน่วงอีกเช่นกัน การไหลผ่านร่องวาล์วเล็กๆในกระบอกสูบ หนืดไม่หนืด ขึ้นอยู่กับขนาดวาล์วและการออกแบบ ช่องทางเดินน้ำมันในวาล์วให้ใกล้เคียงกับความต้องการการใช้งานมากที่สุด
จาก แหล่งที่มา http://www.mocyc.com
ที่นี้ เราก็รู้แล้วว่า โช๊คอัพ มันทำหน้าที่ยังไง แต่ ความที่เทคโนโลยี พัฒนาก้าวกระโดด ทำให้เกิดหลายรูปแบบ เพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน
Air Shock Absorber
Coil-Over Shock Absorber
Dampers
Dashpots
Twin Tube Shock Absorber
Mono Tube Shock Absorber
Shocks with Reservoirs
Sport Shock Absorber
Spring Shock Absorber
---------------------------------------
Air Shock Absorber
โช๊ค ชนิดนี้ใช้ลมเป็นตัวช่วยในการซับแรง โดยใช้สปริงชนิดพิเศษที่ทำจากวัสดุ Elastic เช่น ยางสังเคราห์ที่มีความเหนียวแน่นสูง
ข้อดี
สามารถใช้งานได้ทุกสภาพบรรยากาศ
การขับขี่ราบรื่นกว่า เนื่องจากช่องกักแก้ส(ลม) มีขนาดใหญ่กว่า โช๊คทั่วไป ทำให้รับมือกับแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า
การดูแลรักษาและใช้งานง่ายกว่า แค่เติมลม ดูระดับของความดันลม
-----------------------------------------------------------------------------------------
Coil-Over Shock Absorber
แบบ รวมสปริงอยู่บนแกนเดียวกัน
ข้อดี
ซับแรงกระแทกได้โดยตรง
การควบคุมการขับขี่ + ผลของการเบรคที่ดีกว่า
สามารถกำหนดความสูงได้
ใช้งานได้กับรถหลายๆ แบบ
เหมาะกับถนนทุกสภาพ
--------------------------------------------
Dampers
โช๊ค ที่เน้นการซับแรงกระแทกโดยของเหลว โดยมี Valve เป็นตัวควบคุม
ข้อดี
การปรับค่าความหนืดทำได้ดี
ตำแหน่งของการซับแกนโช๊คสามารถปรับตั้งได้
โช๊คแบบนี้ มีชนิดย่อย
Mono Tube Damper
จะใช้ วาวล์ 2 ตัวในการช่วยการควบคุม ทำให้ล้ออยู่ติดกับพื้นถนนมากที่สุด โดยการใช้การผันแปรน้ำมัน
ดูกันชัดๆ อีกที
ข้อดี
ทำให้การควบคุมดีขึ้น การขับขี่ที่ราบรื่น
ติดตั้งได้ทุกองศา
เบากว่าโช๊คทุกแบบ
มีระยะการใช้งานนาน
สามารถปรับเข้ากับถนนทุกแบบได้ด้วยการออกแบบของตัวเอง (ปรับเอง ออโต้)
------------------------
Twin-tube Damper
โช๊คอันนี้ถูกออกแบบมาเพื่อ โช๊คที่มีแกนขนาดเล็ก
การทำงานคือ ทำเหมือน ใน 1โช๊ค จะมี โช๊ค 2อัน ช่วยกัน ดึงและดัน
อีกภาพ
ข้อดี
ทำให้การขับขี่มีความราบรื่น
การปรับในเรื่องสภาพถนน+ น้ำหนัก ทำได้ดี
แต่ยังมีข้อเสียคือ เรื่องของความร้อน อาจทำให้สูญเสียประสิทธิภาพได้
---------------------------
Low-pressure gas-filled twin-tube damper
ใช้แก้สไนโตรเจนเข้ามาช่วยเสริม การเกิดฟองในน้ำมันจะทำให้โคเสียการประสิทธิภาพได้ จึงใช้แก้สไนโตรเจนมาช่วย
-------------------------------------------------------
High-pressure Gas-filled Mono-tube Damper
โช๊คตัวนี้ ใช้แก้สอัดที่ด้ายท้าย เสริมการรับแรงสะท้อน โดยการใช้แก้สไนโตรเจนอัดที่ความดันสูง โช๊คตัวนี้สามารถปรับได้ การออกแบบโช๊คตัวนี้มีส่วนช่วยทำให้ยางรถไม่สึกเป็นบั้งได้ ( ใช้ในHarley เกือบทุกคันยกเว้น พวก Air type)
----------------------------------------------- จากแหล่งที่มา http://www.shockabsorbersworld.com/shock-absorber-types.html------------
ทีนี้เราก็รู้จัก Shock หลายๆชนิดแล้วนะครับ
เรามาอ่านบทความดีๆ จาก http://www.mocyc.com กันต่ออีกนิด
ความหนืดในกระบอกโช้ค
ความหนืดของโช้คอัพ จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับการออกแบบวาล์วที่ลูกสูบเท่านั้น อยู่ที่ว่าโช้คตัวนั้นจะถูกปรับเซ็ทค่าโช้คมาพอดี
และลงตัวแค่ไหน ไม่จำเป็นว่าต้องมีออฟชั่นมากแค่ไหน ถ้าคุณเปลี่ยนโช้คไปเป็นแก้ส ก็มั่นใจได้อย่าง ว่ามันแข็งขึ้นแหงๆครับ
ถ้าวาล์วถูกออกแบบมาเหมือนกัน แต่ในทางกลับกันคือ เมื่อโช้คแก้สถูกใช้ในการทำงานประเภทที่ต้องโดนเค้นประสิทธิภาพสุดๆ
มันจะคงความเสถียรมากกว่า ซึ่งหมายถึงมันคงสภาพการใช้งานหนักเป็นเวลานานนั่นเอง และเมื่อถึงกรณีนี้
จึงมีตัวช่วยของโช้คอัพเสริมขึ้นมา อย่างที่นักเลงขาซิ่งมอเตอร์ไซค์เขาเรียกกันว่า “ตัวปรับหนืด” (Rebound Adjuster)
ซึ่งเจ้าตัวนี้จะทำงานโดยการปรับรูทางผ่านของน้ำมันใน Piston Valve ทำให้จากเดิมเป็นถนนสามเลน
มีไฟกิ่งส่องสว่างไสว โดนบีบเหลืออยู่เลนเดียวเปิดไฟสลับดวง ผลก็คือ การจราจรย่อมเดินทางยากขึ้น
อุปกรณ์นี้ จะถูกเสริมเมื่อผู้ขั่บขี่ต้องการความเที่ยงตรงให้เหมาะสมกับการงานมากที่สุด เช่นเดียวกับสปริง
ที่จะมีตัว “สตรัทปรับเกลียว” (Spring preload Adjuster) ซึ่งจะช่วยในการหาความแข็งของปริง
ที่จะรับกับน้ำหนักบรรทุกได้อย่างเหมาะสม
ปัญหาที่เกิดกับโช้คอัพ
ปัญหาของโช้คอัพ มีเรื่องสำคัญๆอยู่เรื่องเดียว คือน้ำมันรั่วออกมาจากซีลโช้ค (Seal Block) ทำให้โช้คอัพสูญเสียน้ำมัน
ไปเรื่อยๆ ซึ่งก็จะทำให้มันสูญเสียความสามารถในการหน่วงไป ทำให้รถคุณวิ่งเหมือนเด้งอยู่บนสปริง ถ้าเป็นไม่มาก
ซึ่งพวกนักแข่งในสนามแข่ง เขาไม่มาก้มมุดดูโช้คให้เสียเวลา เพียงแค่เช็คดูที่หน้ายางดูก็รู้ได้แล้วครับ ถ้าสึกเป็นบั้งๆในแนวขวาง
ก็สามารถฟันธงได้แล้วว่ารถคุณมีปัญหากะโช้คอัพแล้วล่ะ
สาเหตุสำคัญที่น้ำมันจะรั่ว
ก็มาจากซีลยาง ซีลยางนี้ มีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาอยู่แล้ว ตามระยะของผู้ผลิตโช้ค คุณควรเปลี่ยนโช้คอัพ
เมื่อรถวิ่งไปได้ในระยะทาง 100,000 กิโล หรือห้าปี โดยไม่ต้องรอให้รั่ว เพราะซีลมันเสื่อมแล้ว ถ้ารถคุณไม่ค่อยได้ใช้เลย
ซีลยางคุณจะยิ่งแย่กว่าปกติ เพราะทุกครั้งที่โช้คขึ้นลง ก้านแกนโช้คจะนำเอาน้ำมันออกมาเล็กน้อยด้วยช่วยหล่อลื่นซีลครับ
ถ้าคุณไม่ใช้รถเลย จอดไว้เป็นอาทิตย์เฉยๆ ซีลจะแข็งและเสื่อมสภาพและฉีกง่ายมากๆ ปัญหาโช้ครั่วก็จะตามมาแน่นอนครับ
การติดตั้งโช้ค
เวลาติดตั้งโช้ค อย่าลืมเตือนช่างหรือแม้แต่คุณเองไม่ให้ใช้คีมในการจับแกนโช้คตอนขันน้อตหรือแม้แต่กรณีใดก็ตามครับ
เพราะมันจะทำให้แกนโช้คเป็นรอย ซึ่งเมื่อคุณเอารถไปขี่ รอยนี้มันจะไปเสียดสีให้ซีลยางมันขาด ซึ่งก็จะนำมาซึ่งการรั่วตามมา
ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นเวลาเจอโช้ครั่วเร็ว บางทีก็อย่าโทษแต่ผู้ผลิตโช้คล่ะครับ มันมีปัจจัยอื่นๆอีกเพียบเลยตัวอย่างเช่น
ตอนขันน้อต ถ้าคุณขันแน่นเกินไปหรือองศาไม่ตรงกับจุดยึด พอเจอน้ำหนักกดปุ๊บโช็คก็จะงอปั๊ปเลยครับ
เพราะเมื่อโช้คท่านงอ เวลาเอาไปวิ่ง มันก็ไปขูดซีลยางอีกน่ะแหละ (แหม ไอ้ซีลยางนี่ช่างเจ้าปัญหาซะจริงเลยนะ)
ข้อคำนึงเกี่ยวกับโช้คอัพ
๑.คุณควรเปลี่ยนทั้งสองข้างพร้อมกัน
๒.คุณควรเปลี่ยนให้ได้ตามรุ่นที่ผู้ผลิตโช้คทำมาเพื่อรถรุ่นนั้นๆ ไม่ควรดัดแปลง เพราะคุณไม่มีทางรู้
ค่าความแข็งของสปริงที่เหมาะสมแน่นอนครับ เพราะหากเป็นมาตรฐานของโรงงานผลิตโช้คที่ลงทุนกันเป็นล้าน
พัฒนาและวิจัยกันเกือบตายกว่าจะออกมาให้รถแต่ละรุ่น
๓.หมั่นก้มดูโช้คบ่อยๆครับ ว่ามีคราบน้ำมันรั่วหรือไม่
๔.เรื่องของระบบกันสะเทือนมาตรฐานเยอรมัน ถือเป็นชินส่วนสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยเทียบเท่ากับระบบเบรคเลยทีเดียว
คุณควรใส่ใจกับมันให้มาก อย่าเห็นแก่ของถูก หรือเงินเพียงเล็กน้อยครับ
คนไทยเรา ยังมีอุปนิสัยไม่สนใจโช้คอัพ ไม่รั่ว ไม่มีวันเปลี่ยน จริงๆแล้ว คุณควรเปลี่ยนมันเมื่อวิ่งไปได้ 100,000 กิโล หรือห้าปี
ครับ เพราะซีลยางมันออกแบบมาให้มีอายุแค่นั้น ถามว่า “โช้คไม่ดี ไม่เห็นเป็นไร ไม่เปลี่ยนไม่ได้เหรอ ขับมาสิบปีแล้ว
ไม่เห็นเคยเปลี่ยนสักครั้ง” ตอบเลยนะครับ ว่าถ้าคุณวิ่งปกติดี มันก็แล้วไปครับ แต่ถ้าคุณไปเจอสถานการณ์คับขัน
เบรคกะทันหัน เมื่อถึงเวลานั้น คุณจะเข้าใจว่า โช้คนั้นสำคัญกับการทรงตัวของรถขนาดไหน เปลี่ยนทัศนคติกันใหม่นะครับ
อย่างที่เยอรมัน เค้าบอกว่า "Shock Absorber condition cannot be compromised."
ที่นี้ ตามผมมาดู โรงงานที่ทำโช๊คให้กับ H-D กันครับ http://www.progressivesuspension.com/productline.html
ตามหา เจ้า Spec Sheet นะครับ http://www.progressivesuspension.com/pdfs/7100-105.pdf
เราจะรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับ โช๊คที่เราใช้อยู่ในตอนนี้ ใช้เพื่ออะไร เวลาที่คุณต้องการปรับปรุง เสริมประสิทธิภาพ จาก OEM Stock Part ไปสู่ ของที่ดีกว่า เราจะแน่ใจได้อย่างไร ว่ามันดีกว่า ของเดิมที่ใส่มาจากโรงงาน เจ้า Spec Sheet ตัวนี้ละครับ จะบอกเราได้
คราวหน้า ถ้าคุณจะหาซื้อโช๊คดีๆซักคู่ ควรเปรียบเทียบข้อมูล ไหนๆจะเสียเงิน สมควรที่จะได้สิ่งที่ดีกว่าครับ ไม่ใช่แย่กว่าเดิมมาติดเพราะเชื่อในคำโฆษณา ว่าของมันดีกว่า รึว่า ตามแรงเชียร์คนขายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ
ปล. ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการอ่าน
ปล.๒ ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลต่างๆ ครับ
http://www.shockabsorbersworld.com/shock-absorber-types.html
http://www.progressivesuspension.com/
http://www.mocyc.com
http://www.efunda.com/DesignStandards/springs/calc_comp_designer.cfm#calc
http://en.wikipedia.org/wiki/Shock_absorber
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=jetsada&month=09-2007&date=16&group=4&gblog=1
ผู้เรียบเรียง : คุณ Vrod raider
จากกระทู้ : http://www.hd-playground.com/joomla/index.php?option=com_smf&Itemid=27&topic=4194.0
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
http://www.shockabsorbersworld.com/shock-absorber-types.html
http://www.progressivesuspension.com/
http://www.mocyc.com
http://www.efunda.com/DesignStandards/springs/calc_comp_designer.cfm#calc
http://en.wikipedia.org/wiki/Shock_absorber
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=jetsada&month=09-2007&date=16&group=4&gblog=1
|