Oil Additive
1. MoS2 เป็นสารหล่อลื่น ลดแรงเสียดทานระหว่าง พื้นผิวที่สัมผัสกัน ด้วยโมเลกุลของ MoS2 เป็นสารตัวแรกๆที่ "treat the metal, noy the oil"
2. Teflon/PTFE ผลิตโดย ดูปองท์ เป็นสารที่ช่วยลดแรงเสียดทาน ระหว่างพื้นผิวเช่นกัน โดยเฉพาะในการสตาร์ท เมื่อเครื่องเย็น ขณะที่ยังไม่มีน้ำมันหล่อลื่น ไปหล่อเลี้ยง
3. Metal Conditioners ผู้ผลิตสารในกลุ่มนี้ มักไม่ระบุว่าใช้อะไร เป็นส่วนผสมหลัก เพียงแต่ระบุว่า ไม่ใช่สาร 2 ตัวข้างต้น แต่เป็นทีรู้กันว่า สารที่ใช้คือ สารประกอบของสังกะสี (Zinc Diakyldithlophosphate) ซึ่งในปัจจุบัน พบได้ในน้ำมันเครื่องดังๆ หลายยี่ห้อ สารตัวนี้จะช่วยลด การสึกหรอ (wear) จากการเสียดสีเช่นกัน
4. Oil treatment สารกลุ่มนี้ จะทำให้น้ำมันเครื่อง มีความหนืดสูง เพื่อช่วยเพิ่มความหนืด ขณะอุณหภูมิสูง และช่วยอุดช่องว่างที่เกิดขึ้น จากการสึกหรอ ระหว่างพื้นผิวสัมผัสทั้งสองได้
5. Automatic Transmission Additive สารเหล่านี้ เคลมว่าช่วยให้การเปลี่ยนเกียร์ เป็นไปโดยสะดวกขึ้น ลดการรั่วของซีลต่างๆ และป้องกันเกียร์ลื่น ขณะทำงานที่อุณหภูมิต่ำ
6. Manual Transmission and Differential Additive มีการทำงาน คล้ายกับของ เกียร์อัตโนมัติ และยังเคลมว่า ทำให้ประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น ให้การส่งกำลังที่ดีขึ้น
ทีนี้ มาดูกันถึงสารเพิ่มประสิทธิภาพ ในน้ำมันเชื้อเพลิงกันบ้างครับ
Fuel Additive
เมื่อรถยนต์ถูกใช้งานไปนานๆ ถังน้ำมันก็จะเริ่มสกปรก มีตะกอนและเศษสนิมเกิดขึ้นได้ น้ำที่สะสมตัวอยู่ก้นถังเมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะทำให้เครื่องยนต์มีปัญหา สตาร์ทยาก และอาจทำให้การจุดระเบิดผิดปกติได้ นอกจากนี้ ตะกอนคาร์บอนก็จะสะสมตัว อยู่ในท่อไอดี คาร์บูเรเตอร์ หัวฉีด และวาล์วไอดี ซึ่งจะทำให้การไหลของกระแสอากาศ เกิดการติดขัด เป็นผลให้ประสิทธิภาพ ของเครื่องยนต์ลดลง
ปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้น อาจจะทำให้รถยนต์ เกิดอาการเหล่านี้ตามมา เช่น สตาร์ทติดยาก อัตราเร่งลดลง เดินเบาไม่เรียบ เครื่องรอบตก มีปริมาณไอเสีย เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือออกไซด์ของไนโตรเจน ออกมามากเกินไป และอาจจะทำให้ เครื่องยนต์กินน้ำมันมากขึ้น
additive หลายตัว จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งมีหลายประเภท คือ
1. Upper cylinder lubricant ช่วยหล่อลื่น วาล์วไอดี ทำความสะอาดท่อไอดี และลดการสะสมตะกอนคาร์บอน ที่บริเวณลูกสูบส่วนบน
2. Fuel stabilizer ช่วยคงสภาพน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ ที่ไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องยนต์เรือ เป็นต้น
3. Water removers ช่วยทำให้น้ำรวมตัวกับน้ำมัน (emulsify) และทำความสะอาดหัวฉีด
4. Injector cleaners เป็นสารทำความสะอาด คาร์บอน และคราบน้ำมันเหนียว ชนิดเข้มข้น ช่วยชะล้างหัวฉีดให้โล่งโปร่งขึ้น
5. Lead substitute ใช้สำหรับปกป้องบ่าวาล์วชนิดอ่อน ในรถยนต์รุ่นเก่าๆ และห้ามใช้ในรถที่ติดตั้ง คาตาไลติค คอนเวอร์เตอร์
6. Octane boosters ช่วยเพิ่ม ค่าออกเทน ประมาณ 1 จุด ลดอาการน็อคในรถยนต์บางรุ่น ที่จำเป็นต้องใช้น้ำมัน ที่ค่าออกเทนสูงมากๆ หรือการใช้งานในบางที่ ที่หาน้ำมันค่าออกเทนสูง ไม่ได้
7. Fuel conditioners เป็น fuel additive ยุคใหม่ ซึ่งเคลมว่ามีประสิทธิภาพ ครอบคลุมคุณสมบัติ ทั้งหมดข้างต้น ช่วยยืดอายุเครื่องยนต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย
ทั้งหมดข้างต้น เป็นการทำความรู้จัก additive ต่างๆ ที่มีในท้องตลาด การเลือกซื้อหามาใช้ จึงควรพิจารณาดู ให้เหมาะสมกับความต้องการ และควรจะศึกษาดูด้วยว่า มีข้อดีข้อเสีย หรือข้อดีอาจจะไม่คุ้มค่าเงินที่เสียไป
จะใช้หรือไม่ใช้ additive
ผลิตภัณฑ์ทุกชนิด ก่อนจะวางตลาด ก็ควรจะมีการทดลองวิจัย มาในระดับหนึ่ง และเมื่อวางตลาด กาลเวลาก็จะพิสูจน์ ถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ ว่ามีประโยชน์ คุ้มค่าต่อการใช้งาน หรืออาจะก่อโทษต่อเครื่องยนต์ หรือไม่
ตัวอย่างข้างล่างนี้ เป็นอุทาหรณ์ ที่ยกมาประกอบการพิจารณา เลือกซื้อเลือกหา additive
- เคยมีการทดสอบ สารเพิ่มประสิทธิภาพน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหนึ่ง โดยใช้รถยนต์ 2 คัน เติม additive หนึ่งคัน ไม่เติมหนึ่งคัน หลังจากวิ่งไปสักระยะหนึ่ง ก็ทำการระบายน้ำมันเครื่องออกจากรถทั้งสองคัน เพื่อพิสูจน์ว่า รถที่เติม additive นั้น สามารถวิ่งได้โดยไม่มีน้ำมันเครื่อง แต่เมื่อทำการทดสอบไปเป็นระยะทาง 150 กม. โดยใช้ความเร็วสูง การทดสอบก็สิ้นสุดลง เพราะ แม้แต่รถคันที่ไม่ได้เติม สารเพิ่มประสิทธิภาพน้ำมันเครื่อง ก็ยังวิ่งได้ไม่แตกต่างกัน แน่นอนว่า การทดสอบนี้ไม่ได้รับการเผยแพร่ แต่อย่างใด
- มีบริษัทรถยนต์บางบริษัท ในต่างประเทศ จะยกเลิกการรับประกันทันที ถ้าพบว่า เจ้าของรถยนต์ ได้ทำการเติม additive ลงในเครื่องยนต์
- สาร PTFE หรือเทฟลอน ที่เคยรู้จักกันดีในอดีต เช่น ในยี่ห้อ Slick ได้รับการเปิดเผยในภายหลัง จากเจ้าหน้าที่ของ Dupont ซึ่งเป็นผู้ผลิตสารตัวนี้ว่า ไม่เหมาะสมที่จะใช้ผสม ในน้ำมันเครื่อง เนื่องจาก PTFE เป็นผลึกแข็งขนาดเล็ก ในทางทฤษฎีแล้ง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง จะทำการกรอง PTFE ออกไป หรือถ้าหลุดลอดไป อาจไปทำให้มีการอุดตันของ ท่อทางเดินขนาดเล็กได้
- มีเครื่องยนต์ที่เคยเสียหาย จากการเติม additive มาแล้ว โดยไปอุดตันท่อทางเดินน้ำมันเครื่อง ในเครื่องยนต์นั่นเอง
แหล่งที่มา http://puwanai1523.igetweb.com/index.php?mo=5&qid=10508
|