A-C-01<br>Expired::
A-C-02<br>Expired::
A-C-03<br>Expired::
 
[Modify & Custom]
 
Engine Oil: บทความเกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง (Part 1)
By HDP PR
DATE: 2011.03.07
VIEW: 2184
POST: 0

HDP ขอขอบคุณ คุณ Vrod raider ที่ได้อนุญาตให้นำบทความอันเป็นประโยชน์มาเก็บไว้ใน Article แห่งนี้

ซื้อเค้ามาแล้ว ต้องดูแลบำรุงรักษาให้เค้าอยู่กับเราไปนานๆ น้ำมันเครื่องที่ดีที่สุด ที่เราจะหาได้ ราคาก็แพงแสนแพง แต่ดีจริงเปล่าก็ไม่รู้ ใช้ไปๆ เจ้ามฤตยูสีดำ ( blackDeath) มาถามหาอีก อะไรคือแบล๊กเดธ ดูที่รูปเลยครับ

เครื่องยนต์ปกติ




เมือใช้ของไม่ได้คุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน สิ่งที่มันทำกับรถสุดที่รักของพวกเรา



เป็นไงครับ เจ้ามฤตยูสีดำ ทางแก้ไขมีครับ แต่ยังไม่ขอกล่าวก่อน เพราะต้นเหตุ คือ น้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่อง มี 3 ชนิด
1. น้ำมันเครื่องปกติ
สกัดจากมาน้ำมันในธรรมชาติ ในขั้นตอนการกลั่นน้ำมันนี่ละครับ
2. สูตรสังเคราะห์
ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ สกัดขึ้นมา มีการแต่งเสริมเติมแต่งให้มีคุณภาพที่ดีกว่า แบบปกติ
3. กึงสังเคราะห์
เจอกันตรงกลางครับ เนื่องจาก การเปลี่ยนมาใช้ จากแบบปกติ มาเป็นสังเคราะห์เลยนั้นอาจทำให้เครื่องคุณมีอาการผิดปกติได้

เกรดของน้ำมันเครื่องอย่างง่าย

แบบ สังเคราะ
0W-30
0W-40
5W-40
คุณสมบัติ>> ทำให้ประหยัดน้ำมัน เสริมประสิทธิภาพและพลังของยานพาหนะ ลดการสึกหรอ ทดแทนส่วนที่สึกไปได้ ติดเครื่องเวลาที่เครื่องเยนได้ง่าย ไม่แข็งตัวเป็นน้ำแข็งในที่เย็นจัด ทำให้ลดส่วนที่เสียดทานของเครื่อง

แบบกึ่งสังเคราะ
5W-30
10W-40
15W-40
คุณสมบัติ >> ทำการป้องกันได้ดีขึ้น ใน 10นาทีแรกของการติดเครื่อง ดีกว่าน้ำมันเครื่องปกติอย่างน้อย 3 เท่าในการลดส่วนที่สึกหรอ ทำให้การไหลหมุนเวียนดีขึ้น ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยๆ

แบบธรรมดา
10W-40
15W-40
คุณสมบัติ >> การป้องกันพื้นฐานทั่วไปของเครื่องยนตร์ ต้องการการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยๆ ราคาไม่แพง

มาตรฐาน API / ACEA (CCMC)
API
มีการระบุคุณสมบัติแยกออกไปตามเครื่องยนตร์และการใช้งาน เช่น
สำหรับ ยานหาหนะทั่วไป S เหมือนถึง การซ่อมบำรุง รึ อาจหมายถึง การจุดระเบิดด้วยหัวเทียน มีรหัสตามหลังอีก เช่น SM หมายถึง เกรดสูงสุด อื่นๆ เช่นSL และ SH ในน้ำมันสังเคราะห์ที่มีราคาแพงๆนั้นส่วนใหญ่จะพบว่ามีการระบุรหัส SH เอาไว้ด้วย ส่วน SG หมายถึงตัว Upgrade

สำหรับเครื่องยนตร์ ดีเซล ใช้ตัวย่อ C จากการอัดระเบิด (Compression ignition) ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับเรานะครับ แต่เอาให้ดู ถ้ากระป๋องไหนมีตัวย่อ C CH CF นี่แสดงว่า ของเครื่องดีเซลแล้ว ในขญะที่บางยี่ห้อได้เปลี่ยน Code ไปเป็น S SH นี่ก็ของ Diesel นะครับ

The CCMC/ACEA
ACEA standards are นำหน้าตัวย่อด้วย 'G' สำหรับเครื่องเบนซิน และ 'D' หรือ 'PD' สำหรับเครื่อง diesel.
ตัวย่อ ACEA ที่บอกถึงคุณสมบัติน้ำมันเครื่องต่างๆ มีดังต่อไปนี้:
A1 ประหยัดพลังงานสำหรับเครื่องเบนซิน
A2 ประสิทธิภาพปกติทั่วไป
A3 ประสิทธิภาพสูง การระเหยของไอน้ำมันเครื่องที่น้อยกว่า
B1 ประหยัดพลังงานสำหรับเครื่อง diesel
B2 ประสิทธิภาพปกติทั่วไป
B3 ประสิทธิภาพสูง การระเหยของไอน้ำมันเครื่องที่น้อยกว่า
B4 สำหรับเครื่องหัวฉีดดีเซลรถทั่วไปที่ใช้บรรทุกคน
E1 สำหรับไม่ได้ใช้เทอร์โบดีเซล
E2 ประสิทธิภาพปกติทั่วไป
E3 ประสิทธิภาพสูง การระเหยของไอน้ำมันเครื่องที่น้อยกว่า
E4 ประสิทธิภาพที่สูงกว่า E3
E5 (1999) ประสิทธิภาพสูง การระเหยของไอน้ำมันเครื่องที่น้อยกว่า รวมทั้งมีมาตรฐาน API กำกับด้วย เพื่อให้เป็น สเปกเดียวกัน



หน้าตามาตรฐานข้างผลิตภัณฑ์



มีของปลอมด้วยแฮะ



น่ากลัวจิงๆ



แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเกรดไหนดี ไม่ดี
เค้ามีข้อกำหนดครับ เช่น มาตรฐานข้อกำหนดของรถรุ่นนั้นๆ มีกำหนดมาให้ ความหนืดของน้ำมัน



จากแหล่งอ้างอิง http://www.carbibles.com/engineoil_bible.html

ตารางนี้คือ ตัวกำหนดการใช้งานของน้ำมันเครื่องสัมพันธ์กับอุณหภูมิ แต่ ทางบริษัทน้ำมันเครื่องเองเค้าก็มีการเทสแข่งกันจะๆนะครับ จับเอายี่ห้อแต่ละอันมาเลย
นี่คือตัวอย่าง ผมไม่ได้ไปโฆษณาให้เค้านะครับ - -* แต่การทดสอบนี้ ผลการทดสอบถูกต้องแบบเป็นทางการ ไม่อย่างนั้นบริษัทอื่นคงรุมฟ้องไปแล้ว
นี่คือตารางที่บอกว่าเอายี่ห้อไหนมาทดสอบบ้าง แล้วด้วยวิธีการอะไรบ้าง





อันแรก ฟิลม์ต้านทานการเกิด ออกซิเดนส์ ตัวนี้จะทำให้เครื่องยนตร์สะอาดปราศจากเขม่า และการสึกหรอสะสม ทำให้ประหยัดพลังงาน



ตารางที่2 อันนี้เกี่ยวกับความหนืดที่อุญหภูมิต่างๆ จะช่วยทำให้แบร่ง ลูกปื่นต่างๆในเครื่องได้รับการปกป้องที่สมบูรณ์ ถ้าเหลวไป แบริ่งจะไม่ได้รับน้ำมันพอเพียงทำให้ใหม้ได้



ตารางที่ 3 เทสการระเหยกลายเป็นไอของน้ำมันเครื่องที่อุญหภูมิสูง การระเหยของน้ำมันเครื่องนี้มีส่วนทำให้ความข้นของน้ำมันเครื่องเพิ่มขึ้น ทำให้การไหลเวียนในห้องเครื่องยากขึ้น ทำให้กินน้ำมันเพิ่มเพราะเครื่องต้องออกแรงมากกว่าเดิม



ตารางที่ 4 การทดสอบที่เกี่ยวกับการไหลเวียนของน้ำมันที่อุณหภูมิต่ำ ทำให้ติดเครื่องยนตร์ง่ายเวลาที่อากาศเย็นจัด ไหลเวียนทำให้การสึกหรอน้อยลง



ตารางที่ 5 เวลาที่มีการจุดระเบิดในเครื่องยนตร์จะมีกรดเป็นพิษ กรดนี้ทำให้เครื่องสึกหรอได้ เทสเพื่อทดสอบการต้านทานความเป็นกรดในกระบอกสูบ



ตารางที่ 6 ตัวนี้เทสเรื่องน้ำมันเครื่องที่แคร๊งเครื่องในกรณีที่ความเย็นต่ำสุด -30 องศา ต้องสามารถสูบขึ้นมาใช้งานได้ทัน



ตารางที่ 7 การทดสอบเรื่องการสึกหรอ โดนให้ลูกเหล็ก 4 ลูก มาขัดสีกันแล้วใช้น้ำมันเครื่องยี่ห้อต่างๆ ทาลงไป แล้วดูว่าใครสึกหรอมากกว่ากัน


จากแหล่งอ้างอิง http://syntheticperformanceoil.com/spo/articles/api_comparative_motor_oil_testing.php
จริงๆแล้วยังมีอีกเยอะครับ เรื่องของ สารเคมีที่ ใช้ในน้ำมันสังเคราะห์ต่างๆ ขอยกไว้ ภาค2 นะครับ

ตอนนี้ เราก็พอทราบบ้างแล้วว่า เกรด คุณภาพ มาตรฐาน การทดสอบ แบบคร่าวๆ นะครับ ซื้อน้ำมันครั้งต่อไป ลองสังเกตุให้ดีๆ อย่าซื้อผิด รึว่า ซื้อเบอร์มาผิดนะครับ เจ้า Blackdeath จะถามหา
ขอบคุณที่อ่านคับ ยาวไปนิด แหะๆ

คำเตือน - น้ำมันสำหรับรถยนตร์ กับ แมงกะไซค์ ไม่เหมือนกันนะครับ เอามาเติมด้วยกันไม่ได้ ต้องเฉพาะเจาะจงๆจริงๆ ใครเห้นว่า ดีแล้วเอามาใส่ นี่ โอกาศเครื่องพังสูงนะครับ

จริงๆ กะว่าจะต่อภาค2 ให้เลยวันนี้ แต่ต้องไปธุระละคับ ไว้โอกาศหน้ามารับใช้ใหม่
ในภาค 2 ก็จะมี ธาตุ/ส่วนผสมสำคัญๆของน้ำมัน ความแตกต่างระหว่าง น้ำมันเครื่องรถยนตร์/แมงกะไซค์ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมจะพยายามหามาลงให้ครับ

ขอบคุณครับ



ผู้เรียบเรียง : คุณ Vrod raider
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
http://www.carbibles.com/engineoil_bible.html

http://syntheticperformanceoil.com/spo/articles/api_comparative_motor_oil_testing.php

 

Share   Like
Comments