http://www.thadan.com/rafting.phpแม่น้ำนครนายก มีต้นกำเนิดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เกิดจากลำธารหลายสายมารวมตัวกัน เช่น คลองตะไคร้ คลองนางรอง คลองท่าด่าน เมื่อรวมตัวกันเป็นแม่น้ำไหลผ่านนครนายก ไปรวมกับแม่น้ำปราจีนบุรี เป็นแม่น้ำบางปะกง ไหลลงสู่อ่าวไทย และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ ฯ มากนัก จุดเด่นของลำน้ำนครนายก คือ ตัวแก่งสามชั้นกระแสน้ำจะมีลักษณะไหลลดหลั่นกันลงมาคล้ายขั้นบันได เป็นแก่งที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจได้พอสมควร และ แก่งเทียม ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสนามแข่งขัน แคนูสลาลม โอลิมปิค รอบคัดเลือก โซนเอเชีย
แก่งต่าง ๆ ที่จะล่องผ่าน
- แก่งเทียม ที่สร้างขึ้น เพื่อการแข่งขัน แคนูสลาลม
- แก่งโขดคุ้ง มีลักษณะเป็นโขดหินโขดหินโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำในช่วงฤดูร้อน แต่จะจมลงไปในน้ำยามฤดูฝน
- เกาะแก่ง มีลักษณะเช่นเดียวกันกับแก่งโขดคุ้ง ถ้าในช่วงฤดูร้อนจะมองเห็นเกาะแก่งนี้ แต่ถ้าอยู่ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำจะท่วมเกาะแก่งนี้จนไม่สามารถมองเห็นได้
- แก่งหินสามชั้น ถือว่าเป็นไฮไลท์ของการล่องแก่งในลำน้ำนครนายก ก่อนจะถึงตัวแก่งสามชั้นระยะทางไม่กี่เมตรจะถึงโค้งหักศอกก่อน นักล่องแก่งควรระมัดระวังตัว ตั้งในพายให้ดีเมื่อถึงโค้งหักศอกนี้เพราะต่อไปจะเป็นแก่งสามชั้น ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นหินสามชั้นเทลาดเอียงลงมาเป็นขั้นบันได ระยะทางยาวประมาณ 50 เมตร กระแสน้ำจะไหลวนลงมากระทบกับโขดหินน้อยใหญ่ที่จมอยู่ใต้น้ำจนเกิดเป็นลูกคลื่นม้วนตัวเข้าหาหินสูงประมาณหนึ่งเมตร เป็นจุดท้าทายของนักพายเรือแคนูและคยัก ซึ่งจะมาประลองกำลังความสามารถกันที่บริเวณแก่งสามชั้นแห่งนี้ การล่องแก่งลำน้ำนครนายกจะสิ้นสุดการล่องที่บริเวณบ้านวังยาวก็ตื่นเต้นเร้าใจกันเพียงพอแล้ว อย่ล่องเพลินออำไปแม่น้ำบางปะกง เดี๋ยวจะเดือดร้อนสตาฟฟ์ล่องแก่งหาตัวลูกทัวร์ไม่เจอ
เริ่มล่องแก่งจากบริเวณเชิงสะพานคลองท่าด่าน (หน้าประตูระบายน้ำ เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) เรื่อยมาตามลำน้ำนครนายก ผ่านเกาะแก่งต่าง ๆ (แก่งที่น้ำเชี่ยวที่สุดคือแก่งสามชั้น) มีจุดนำเรือขึ้นฝั่งและออกมายังถนนใหญ่ได้หลายจุด เช่น ที่บ้านดง แก่งสามชั้น และ วังกุตภา ระยะทางในการล่องแก่งแต่ละช่วงประมาณ 7 กิโลเมตร การล่องแก่งเป็นการท่องเที่ยวผสมผสานไปกับกีฬาทางน้ำน้ำที่สนุกตื่นเต้นท้าทาย เป็นการพักผ่อนและออกกำลังกายที่มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติโดยการพายเรือแคนู (เรือแคนู เป็นเรือที่มีหัวท้ายเพรียว มีปลายประเภทแต่ประเภทที่เหมาะกับน้ำเชี่ยวคือเรือคยัก)
การจัดระดับความยากของแก่งสามารถแบ่งได้เป็น 6 ระดับ เริ่มจากระดับง่ายๆ คือ 1 จนถึงระดับ 6 ดังนี้
ระดับ 1
ง่ายมาก มีแก่งเล็กน้อยที่ง่ายมากคนทั่วไปสามารถพายได้บนสายน้ำไหลเอื่อย เรียกว่าเหมาะสมสำหรับผู้ที่เริ่ม ล่องแก่งเป็นครั้งแรก
ระดับ 2
ธรรมดา น้ำไหลแรงขึ้น มีแก่งที่ต้องใช้เทคนิค ในระดับนี้ผู้พายจะต้องมีทักษะในการพายอยู่พอสมควร
ระดับ 3
ปานกลาง เริ่มมีแก่งน่าตื่นเต้น เทคนิคการพายสูงขึ้น มีแก่งให้ผู้พายได้ตื่นเต้นเป็นระยะๆ ในการพายจะต้องฝึกฝนเทคนิค การพายและการเรียนรู้ถึงลักษณะของสายน้ำ
ระดับ4
ยาก มีแก่งที่ต้องใช้ทั้งเทคนิคและทักษะในการพาย และต้องใช้ความระมัดระวังในการล่องแก่ง
ระดับ 5
ยากมาก น้ำไหลเชี่ยว ต้องใช้เทคนิคและประสบการณ์การพายสูง และต้องมีความระมัดระวัง ในการล่องแก่งเป็นพิเศษ
ระดับ 6
จัดอยู่ในระดับที่อันตราย ไม่เหมาะสมการล่องแก่งเพราะแก่งมีลักษณะเป็นน้ำตก
